เรื่อง บทละครพูดคำฉันท์ มัทนพาธา |
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระ นาม เดิม ว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงพระราช
สมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ
พระสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อทรง พระเยาว์ ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง
ครั้นพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา เสด็จไปศึกษาวิชาการต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ทั้งวิชาการทหารและพลเรือน
ทรงศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก แซนเฮิสต์ และทรงศึกษาวิชาพลเรือนที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด พระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ขณะที่พระชนมายุได้ ๓๐ พรรษา
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ ได้แก่
๑. ทรงออกพระราชบัญญัติต่างๆ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัตินามสกุล เพื่อให้คนไทยมี
นามสกุลใช้เช่นเดียวกับประเทศที่เจริญแล้ว ทรงออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา
๒. ทรงให้กำเนิดกิจการต่างๆ ได้แก่ - ทรงตั้งกองเสือป่า - ทรงจัดตั้งคลังออมสิน
นอกจากนี้พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อีกมากมายทั้งในด้านการศึกษา
การแพทย์ การปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทรงนำประเทศเข้า
ร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งเป็นผลทำให้ประเทศได้ประโยชน์ต่างๆ เช่น การยกเลิกสิทธินอกอาณาเขต
และจากการไปสงครามครั้งนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติไทยใหม่ จากช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์
- ๔ -
พระองค์ทรงเชี่ยวชาญและสนพระราชหฤทัยในด้านภาษาและวรรณคดีอย่างยิ่ง
ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ ไว้กว่า ๒๐๐ เรื่อง บทพระราชนิพนธ์ของพระองค์ล้วน
เป็นที่ประทับใจของผู้อ่านมาตลอด ได้แก่
๑. เรื่องเกี่ยวกับนิทาน เช่น ความดื้อของคนเรา
๒. เรื่องเกี่ยวกับศาสนา เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
๓. เรื่องเกี่ยวกับโบราณคดี เช่น เที่ยวเมืองพระร่วง เที่ยวเมืองอียิปต์
๔. บทละครพูด เช่น เห็นแก่ลูก เสียสละ มัทนะพาธา
๕. เรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองและปลุกใจให้รักชาติ เช่น ลัทธิเอาอย่าง
เมืองไทยจงตื่นเถิด
โดยใช้พระนามแฝงว่า อัศวพาหุ นายแก้วนายขวัญ น้อยลา สุครีพ พระขรรค์เพชร
ศรีอยุธยา รวมจิตติ และพันแหลม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๕
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ขณะพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา ประชาชนชาวไทย
ได้ถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ว่า “ สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ”
- ๕ -
หนังสือบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา บัตรเชิญชมการแสดงมัทนะพาธา
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๖๗ www.oknation.net www.finearts.go.th
จุดมุ่งหมายของเรื่อง
ในพระราชนิพนธ์คำนำของเรื่องนี้ ทรงแสดงไว้ว่า ไม่ได้ใช้เนื้อเรื่อง หรือตัดตอนมาจาก
ที่ใด ทรงคิดโครงเรื่องนี้ไว้นานแล้ว ทรงกล่าวไว้ว่า “ แก่นแห่งเรื่องนี้ ได้เคยมีติดอยู่ในใจข้าพเจ้ามาช้านานแล้ว แต่เพราะเหตุต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องกล่าวในที่นี้” เราไม่อาจทราบได้ว่า “เหตุต่างๆ” นั้นคืออะไร แต่ตามเนื้อเรื่อง เราจะเห็นได้ว่า มีแก่นสำคัญอยู่ ๒ ข้อสำคัญ คือ
๑. ทรงปรารถนาจะกล่าวถึงตำนานดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สวยงาม เป็นที่คลั่งไคล้ได้พบของผู้ที่ได้พบเห็น แต่ว่าต้องระวังในการเด็ดดมเพราะมีหนามคม อาจเปรียบกับสาว ซึ่งมี “ คมหนาม-เมื่อชายจะเด็ดดมก็ต้องระวังตัว ” อีกประการหนึ่ง ดอกกุหลาบนี้ไม่เคยมีตำนานอันเป็นทางเทพนิยาย จึงทรงประดิษฐ์ให้ดอกกุหลาบมีกำเนิดมาจากนางฟ้า ที่ถูกสาปจุติลงมาเกิดเป็นดอกไม้พันธุ์หนึ่ง
ไม้เรียกปะกากุพ– ชะกะสีอรุณแสง
ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณี ณ ยามอาย
ดอกใหญ่และเกสร สุวะนธะมากมาย
อยู่ทน บ วางวาย มธุรสขจรไกล
อีกทั้งสะพรั่งหนาม ดุจเข็มประดับไว้
ผึ้งเขียวสิบินไขว่ บ่มิใคร่จะห่างเหิน
** ดอกกุพชกะ คือ ดอกกุหลาบ **
www.pantip.com
- ๖ -
๒. เพื่อแสดงความเจ็บร้อนแห่งความรัก ทรงชี้ให้เห็นว่าความรักนั้นมีอานุภาพ
อย่างยิ่ง ผู้ใดเกิด ความรัก ก็มักเกิดความหลงขึ้นด้วย ได้ทรงใช้ชื่อเรื่องว่า “ มัทนะพาธา ”
อันเป็นชื่อตัวละครเอกของเรื่อง ซึ่งมัทนะพาธา แปลว่า ความเจ็บปวด หรือความเดือดร้อน
จากความรัก
นอกจากนี้ยังนำไปเป็นบทละครพูดคำฉันท์ เพื่อแสดงเป็นละคร หรือนำไปเล่น
ได้อีกด้วย และพระองค์ทรงแนะนำไว้ว่า “ ให้ตัวละครพูดบทของตนเอง ไม่ใช่ร้อง
บทนั้นๆ อย่างแบบที่เรียกกันว่า ละครดึกดำบรรพ์ ต่อเมื่อบทใดเป็นบทร้องจึงให้ร้อง
พร้อมกับให้มีดนตรีเล่นคลอเบาๆ ในเวลาที่เจรจา ได้มีเพลงหน้าพาทย์กำหนดลงไว้
บางแห่งเพื่อช่วยการในดำเนินเรื่อง ”
ที่มาของเรื่องพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา
มัทนะพาธาหรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ เป็นบทละครพูดคำฉันท์ ๕ องก์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๖๖
โดยใช้ฉันท์ทั้งสิ้น ๒๑ ชนิด วรรณคดีสโมสรได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งได้ดี
เพราะทรงพระราชดำริให้ใช้คำฉันท์ มาแต่งเป็นละครพูด ซึ่งเป็นของแปลกและแต่งได้ยาก
- ๗ -
ภาพในเนื้อเรื่องมัทนะพาธาฉบับเดิม www.oknation.net
มัทนา มาจากศัพท์ว่า มทน แปลว่า “ ความลุ่มหลงหรือความรัก ”
มัทนะพาธาจึงมี ความหมายว่า ความเจ็บปวดและความเดือดร้อนเพราะความรัก
ลักษณะคำประพันธ์และการเลือกใช้ฉันท์ชนิดต่าง ๆ
การเลือกใช้ฉันท์ ต้องเลือกให้เหมาะกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อเรื่องที่จะเขียน
๑. บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทไหว้ครู บทสรรเสริญพระเกียรติ ความขลัง
นิยมใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์หรือ สัทธราฉันท์
๒. บทเล่าเรื่อง บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้อินทรวิเชียรฉันท์ หรือ วสันตดิลกฉันท์
๓. บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น วิตกกังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับ
ความรักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่างมาก นิยมใช้ อิทิสังฉันท์ ซึ่งเป็นฉันท์
ที่สลับเสียงหนักเบา เน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ
๔. บทพรรณนาโวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือเป็นที่ประทับใจ นิยมใช้
ภุชงคประยาตฉันท์
๕. บทสนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้เหตุการณ์บรรยายๆไปอย่างรวดเร็วจะนิยม
ใช้โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ หรือ จิตรปทาฉันท์
- บทบรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อินทวงศ์ฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์
หรือ สาลินีฉันท์
- ๘ -
ลักษณะของพยางค์ในการแต่งฉันท์
พยางค์
พยางค์ พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้ให้ความหมาย
ของพยางค์ ไว้ว่า “ พยางค์ น. หน่วยเสียงที่ประกอบด้วยสระเดียว ส่วนหนึ่งของคำที่มี
หลายเสียง ” สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำประพันธ์ประเภทฉันท์แล้ว ความหมาย
ของพยางค์ ยังแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. พยางค์ที่มีเสียงหนัก ( ครุ )
๒. พยางค์ที่มีเสียงเบา ( ลหุ )
ครุ
ครุ คือพยางค์ที่ลงเสียงหนัก ใช้สัญลักษณ์ มีลักษณะ ดังนี้
๑. เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก.กา ( รวมทั้งสระ
อำ ไอ ใอ เอา ด้วย ) เช่น ตา ตี ปู นา เกเร จำ ใจ ไป เอา
๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดทุกมาตรา เช่น นก เมฆ สุข จักร บด ศิษย์
ภาพ รูป งาม ปอง เฉย ขาว ผล เป็นต้น
ลหุ
ลหุ คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ใช้สัญลักษณ์ มีลักษณะ ดังนี้
๑. เป็นคำที่ประสมกับสระเสียงสั้นในแม่ ก. กา เช่น ดุ เตะ ติ จะ แคะ
โละ เคาะ เป็นต้น
๒. เป็นพยัญชนะตัวเดียว เช่น บ บ่ ณ ธ ก็ เป็นต้น
- ๙ -
ฉันท์ที่ใช้ในเรื่อง มัทนะพาธา
๑. วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
( ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้าแลบที่มีรัศมียาว )
ลักษณะบังคับของวิชชุมมาลาฉันท์ ๘
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. ๑ วรรค มี ๔ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
๔. วิชชุมมาลาฉันท์นิยมแต่ง ๒ บท คู่กันเป็น ๑ ตอน เมื่อขึ้นต้นตอนใหญ่ต้อง
ย่อหน้าทุกตอน และให้คำสุดท้ายของบทที่ ๒ ในตอนต้น สัมผัสกับคำสุดท้าย
ของบทที่ ๑ ในตอนต่อไป
การบังคับครุ ลหุ คำทุกคำในแต่ละวรรคเป็นคำครุทั้งหมด
- ๑๐ -
๒. จิตรปทาฉันท์ ๘
ลักษณะบังคับของจิตรปทาฉันท์ ๘
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรก และวรรคหลังมีวรรคละ ๔ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๑ คำ ลหุ ๒ คำ และครุ ๑ คำ
๒. วรรคหลังมีคำลหุ ๒ คำ และครุ ๒ คำ
- ๑๑ -
๓. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
( ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้า ซึ่งป็นอาวุธของพระอินทร์ )
ลักษณะบังคับของอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๒ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๒. วรรคหลังมีคำลหุ ๒ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๑๒ -
๔. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ลักษณะบังคับของอุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๒. วรรคหลังมีคำลหุ ๒ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๑๓ -
๕. อุปชาติฉันท์ ๑๑
ลักษณะบังคับของอุปชาติฉันท์ ๑๑
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔
๓. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ในบทต่อไป สัมผัสกับคำที่ ๓ ของบทที่ ๒
๔. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๒. วรรคหลังมีคำลหุ ๒ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๑๔ -
๖. สาลินีฉันท์ ๑๑
ลักษณะบังคับของสาลินีฉันท์ ๑๑
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๕ คำ
๒. วรรคหลังมีลหุ ๑ คำ ครุ ๒ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๑๕ -
๗. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
( ฉันท์ที่กล่าวสำเนียงอันก้องให้ปรากฏ )
ลักษณะบังคับของอุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๒ คำ ลหุ ๒ คำ และครุ ๑ คำ
๒. วรรคหลังมีคำลหุ ๒ คำ ครุ ๒ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๑ คำ
- ๑๖ -
๘. สวางคตาฉันท์ ๑๑
ลักษณะบังคับของสวางคตาฉันท์ ๑๑
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๗ คำ และวรรคหลังมี ๔ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๓ คำ และครุ ๑ คำ
๒. วรรคหลังมีคำลหุ ๒ คำ ครุ ๒ คำ
- ๑๗ -
๙. รโธทธตาฉันท์ ๑๑
ลักษณะบังคับของรโธทธตาฉันท์ ๑๑
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๗ คำ และวรรคหลังมี ๔ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๓ คำ และครุ ๑ คำ
๒. วรรคหลังมีคำลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำ และลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำ
- ๑๘ -
๑๐. อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒
( ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะประดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ )
ลักษณะบังคับของอินทวงศ์ฉันท์ ๑๒
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๗ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๒ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๒. วรรคหลังมีลหุ ๒ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำลหุ ๑ คำ และครุ ๑ คำ
- ๑๙ -
๑๑. โตฏกฉันท์ ๑๒
ลักษณะบังคับของโตฏกฉันท์ ๑๒
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๖ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
แต่ละวรรคมีการบังคับครุ ลหุ ที่เหมือนกัน คือ มีคำลหุ ๒ คำ ครุ ๑ คำ
ลหุ ๒ คำ และครุ ๑ คำ
- ๒๐ -
๑๒. กมลฉันท์ ๑๒
( ฉันท์ที่มีลีลาดุจกล่อมใจให้เพลิดเพลิน )
ลักษณะบังคับของกมลฉันท์ ๑๒
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๖ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. แต่ถ้าหลายบท จะต้องมีสัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัส
กับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ แต่ละวรรคมีคำครุ ลหุ ที่เหมือนกัน คือ ลหุ ๒ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ
และครุ ๒ คำ
- ๒๑ -
๑๓. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
ลักษณะบังคับของภุชงประยาตฉันท์ ๑๒
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. แต่ละวรรคมี ๖ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. ถ้าแต่งหลายบท จะต้องมีสัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัส
กับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
แต่ละวรรคจะมีการบังคับครุ ลหุ ที่เหมือนกัน คือ ลหุ ๑ คำ ครุ ๒ คำ
ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๒๒-
๑๔. ปิยังวทาฉันท์ ๑๒
ลักษณะบังคับของปิยังวทาฉันท์ ๑๒
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรก มี ๘ คำ และวรรคหลังมี ๔ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมี ลหุ ๓ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๓ คำ และครุ ๑ คำ
๒. วรรคหลังมีคำลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๑ คำ
- ๒๓ -
๑๕. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
ลักษณะบังคับของวสันตดิลกฉันท์ ๑๔
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคหน้า มี ๘ พยางค์ วรรคหลังมี ๖ พยางค์
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคหน้าจะมีคำครุ ลหุ ที่เหมือนกัน คือ ครุ ๔ คำ ลหุ ๔ คำ
๒. วรรคหลังจะมีคำครุ ๓ คำ และ ลหุ ๓ คำ ตามแผนผัง
- ๒๔ -
๑๖. มันทักกันตาฉันท์ ๑๗
ลักษณะบังคับของมันทักกันตาฉันท์ ๑๗
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๑ บาท
๒. ๑ บาท มี ๓ วรรค
๓. วรรคที่หนึ่ง มี ๑๐ คำ วรรคที่สองมี ๔ คำและวรรคที่สาม มี ๓ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ของบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคหน้าจะมีคำครุ ๔ คำ ลหุ ๕ คำ และครุอีก ๑ คำ
๒. วรรคที่สองจะมีคำครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และ ครุ ๒ คำ
๓. วรรคที่ สามจะมีคำลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๒๕ -
๑๗. กุสุมิตลดาเวลิตาฉันท์ ๑๘
( ฉันท์ที่มีลีลาอันงดงามประดุจไม้เครือเถาที่สะพรั่งไปด้วยดอก )
ลักษณะบังคับของกุสุมิตลดาเวลิตาฉันท์ ๑๘
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๑ บาท
๒. ๑ บาท มี ๓ วรรค
๓. วรรคที่หนึ่ง มี ๑๑ คำ วรรคที่สองมี ๔ คำและวรรคที่สาม มี ๓ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ และคำสุดท้าย
ของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคหน้าจะมีคำครุ ๕ คำ ลหุ ๕ คำ และครุอีก ๑ คำ
๒. วรรคที่สองจะมีคำครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และ ครุ ๒ คำ
๓. วรรคที่ สามจะมีคำลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๒๖ -
๑๘. สัททุลวิกีฬิตฉันท์ ๑๙
ลักษณะบังคับของสัททุลวิกีฬิตฉันท์ ๑๙
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๓ วรรค
๒. วรรคแรกมี ๑๒ คำ วรรคที่ ๒ มี ๕ คำ และวรรคสุดท้ายมี ๒ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
๒. สัมผัสระหว่างบท คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรก
และคำสุดท้ายของวรรคที่สอง ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๓ คำ ลหุ ๒ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ ครุ ๑ คำ ลหุ ๓ คำ
และครุ ๑ คำ
๒. วรรคที่ ๒ มีคำครุ ๒ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๓. วรรคสุดท้ายมีคำลหุ ๑ คำ และครุ ๑ คำ
- ๒๗ -
๑๙. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
( ฉันท์ที่มีลีลาประดุจฟ้าคำรณ )
ลักษณะบังคับของเมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๓ วรรค
๒. วรรคแรกมี ๑๒ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ และวรรคสุดท้ายมี ๓ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
๒. สัมผัสระหว่างบท คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรก
และคำสุดท้ายของวรรคที่สอง ในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำลหุ ๑ คำ ครุ ๕ คำ ลหุ ๕ คำ ครุ ๑ คำ
๒. วรรคที่ ๒ มีคำครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๓. วรรคสุดท้ายมีคำลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๒๘ -
๒๐. อิทิสังฉันท์ ๒๐
ลักษณะบังคับของอิทิสังฉันท์ ๒๐
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บาท มี ๓ วรรค
๒. วรรคแรกมี ๙ คำ วรรคที่ ๒ มี ๘ คำ และวรรคสุดท้ายมี ๓ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกในบทต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรก เริ่มด้วยครุสลับดัวยลหุจนจบด้วยครุ คำที่ ๙ รวมมี ครุ ๕ คำ
และลหุ ๔ คำ
๒. วรรคที่ ๒ เริ่มด้วยลหุสลับด้วยครุจนจบด้วยครุ คำที่ ๘ รวมมี ครุ ๔ คำ
และลหุ ๔ คำ
๓. วรรคที่ ๓ มีคำลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
- ๒๙ -
๒๑. สัทธราฉันท์ ๒๑
( ฉันท์ที่ลีลาวิจิตรประดุจสตรีเพศผู้ประดับด้วยพวงมาลัย )
ลักษณะบังคับของสัทธราฉันท์ ๒๑
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. วรรคแรกมี ๗ คำ วรรคที่ ๒ มี ๗ คำ วรรคที่ ๓ มี ๔ คำ และวรรคสุดท้าย
มี ๓ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
การบังคับครุ ลหุ
๑. วรรคแรกมีคำครุ ๔ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๒. วรรคที่ ๒ มีคำลหุ ๖ คำ และครุ ๑ คำ
๓. วรรคที่ ๓ มีคำครุ ๑ คำ ลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๔. วรรคสุดท้าย มีคำลหุ ๑ คำ และครุ ๒ คำ
๕. ในบทต่อไป วรรคที่ ๑ – ๓ จะเหมือนเดิม แต่วรรคที่ ๔
จะเป็นคำครุทั้ง ๓ คำ
- ๓๐ -
เรื่องย่อ
บทละครพูดคำฉันท์ มัทนะพาธา
สุเทษณ์เทพบุตรเป็นทุกข์ด้วยความรักและลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถี
คู่บารมีจะนำรูปขอเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี
จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธร ผู้มีเวทมนตร์แก่กล้ามาเข้าเฝ้า สุเทษณ์จึงให้มายาวินใช้เวทมนตร์
เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาหาแล้วนางมัทนาก็มีอาการเหม่อลอยไม่มีสติสมบูรณ์ เพราะตกอยู่
ในฤทธิ์มนตรา แต่สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้นจึงให้มายาวินคลายเวทมนตร์
เมื่อครั้นได้สติแล้วนางมัทนาก็ปฏิเสธว่าไม่มีจิตเสน่หา ตอบด้วย ไม่ว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาราสี
และรำพันรักอย่างไร นางก็ไม่สนใจ สุเทษณ์โกรธมากจึงจะสาปนางมัทนาให้ไปเกิด
ในโลกมนุษย์
มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอม สุเทษณ์เทพบุตรจึงสาป
นางมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้ง กลิ่นทั้งรูปซึ่งมีแต่เฉพาะบนสวรรค์
ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์โดยที่ในทุกๆ วันเพ็ญ นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ ๑ วัน ๑ คืน
และถ้านางมีความรักเมื่อใดนางจะได้เป็นมนุษย์ตลอดไป โดยไม่ต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก
แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมื่อนั้นถ้านางอ้อนวอน
ขอความช่วยเหลือ สุเทษณ์จึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง และรับนางมัทนากลับไปสู่สวรรค์
- ๓๑ -
นางมัทนาได้ไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน
จนกระทั่งบรรดาศิษย์ของฤาษีนามกาละทรรศิน มาพบเข้าจึงนำความไปบอก
พระอาจารย์ ฤาษีกาละทรรศินจึงสั่งให้ขุดต้นกุหลาบไปปลูกในบริเวณาศรมของตน
ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ
จึงได้ เอ่ยเชิญและสัญญาว่า จะคอยดูแลปกป้องสืบไป การขุดจึงสำเร็จได้ด้วยดี
เดือนหนึ่งในคืนวันเพ็ญ ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์
ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤาษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารี
ผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรม
ไว้ใกล้ๆอาศรมนั้นทันที แล้วท้าวชัยเสนได้แต่รำพึงรำพันถึงความรักอันลึกซึ้งที่มีต่อ
นางมัทนา
ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมมองไม่เห็นผู้ใด เพราะท้าวชัยเสน
หลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาจึงได้พรรณนาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น
ต่อท้าวชัยเสนบ้าง ท้าวชัยเสนซึ่งหลบอยู่จึงได้สดับฟังทุกถ้อยคำจึงเผยตัวออกมา ทั้งสอง
จึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกัน จนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ
ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น
นางมัทนาจึงยังคงมีรูปเป็นนารีผู้งดงาม ไม่ต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีกต่อไป ท้าวชัยเสน
ได้ทูลขอนางมัทนาจากพระฤาษี พระฤาษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคล
ในป่านั้นเสียก่อน เมื่อกลับถึงวังท้าวชัยเสนก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างใน ด้วยว่ายัง
ทรงประทับอยู่แต่ในอุทยานกับนางมัทนา พระนางจัณฑีซึ่งเป็นมเหสีให้นางกำนัลมาสืบดู
จนรู้ว่า พระสวามี นำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนา
เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่า
ว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา พระนางจัณฑีแค้นใจจึงให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้า
แห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน หลังจากนั้นนางจัณฑีก็ได้คบคิดกับ
นางค่อมอราลีและให้วิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนา
- ๓๒ -
โดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย
ครั้นเมื่อท้าวชัยเสน รีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา
ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆ ต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวง
ของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่า นางมัทนาสั่งให้ทำเสน่ห์เพื่อให้นางได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับ
ศุภางค์ทหารเอกของท้าวชัยเสน ท้าวชัยเสนกริ้วมากรับสั่งให้ศุภางค์ประหารชีวิตนางมัทนา
แต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งให้ประหารชีวิตเสียทั้งคู่
พระนางจัณฑีได้โอกาสรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคง
เข้าใจผิดว่านางจัณฑีกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบาย
ของนางจัณฑีที่คิดก่อศึกขึ้นแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกครา
แล้วตัดหัวกษัตริย์มคธผู้เป็นพ่อตา แล้วนำมาให้นางจัณฑีผู้คิดขบถต่อสวามีตนเอง
ขณะที่ตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสน
เพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้ายทั้งหมด ซึ่งในที่สุดแล้ว
ตนสำนึกผิด และละอายต่อบาปที่เป็นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโทษประหาร
ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์
นันทิวรรธนะเข้ามาห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่งมิได้
ประหารศุภางค์และนางมัทนาหากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัต
ศิษย์เอกของฤาษีกาละทรรศินนำพากลับไปสู่อาศรมเดิม ส่วนศุภางค์นั้นได้แฝงกลับเข้าไป
ร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าศึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธ
ที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอก
พระนครด้วยทรงเห็นว่า อันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง
ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและอ้อนวอนขอร้องให้สุเทษณ์เทพบุตร
มาช่วยนาง สุเทษณ์เทพบุตรนั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนา
ก็ยังคงปฏิเสธและอ้างว่า อันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เทพบุตรเห็นว่า
นางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วมาก จึงสาปส่งให้นางมัทนากลายเป็น
ดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
- ๓๓-
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนา
ด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำไห้ด้วยความอาลัยรัก
แล้วขอให้พระฤาษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปอยู่ยัง
เวียงวังกับตนอีกครั้ง
เมื่อพระฤาษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อ
นางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำ
ต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยานและขอให้ฤาษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่า
กุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยรา ตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤาษีก็อวยพร
ให้ดังใจ และประสิทธิ์ประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธุ์ อีกทั้งยัง
เป็นไม้ดอกที่มีกลิ่นอันหอมหวาน สามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดลบันดาลให้
จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ดังนั้นชายหญิงเมื่อมีความรัก จึงมักใช้ดอกกุหลาบ เป็น
สัญลักษณ์แห่งความรักตลอดมา
- ๓๔ -
คุณค่าที่ได้รับ
จากบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา
มัทนะพาธาเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นหนังสือที่แต่งดีเยี่ยม ด้วยการใช้ฉันท์เป็น
บทละครพูดซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก เป็นเรื่องที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกัน กับวัฒนธรรม
ภารตะโบราณ และเข้ากับเนื้อเรื่องได้ดี โดยมุ่งสอนให้รู้ถึงความเจ็บปวดที่เกิดจากความรัก
และรู้ถึงโทษของความรัก
ข้อคิดที่ได้จากเรื่องบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา
๑. ความรักมีทั้งคุณและโทษ
ความรักมีประโยชน์ทำให้จิตใจแช่มชื่นมีความสุขและเมื่อผิดหวังพลาดรักอาจทำให้
เกิดโทษได้ ถ้าปล่อยให้ความรักนั้นเป็นความหลง ขาดสติพิจารณา ไตร่ตรองอาจทำให้
ตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้องเดือดร้อนได้ ดังว่า
ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดออกจากคอกไป บ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บหวนคิดถึงเจ็บกาย
๒. ความรักที่แท้จริงควรเกิดจากใจบริสุทธิ์
บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธามีสาเหตุมาจากความรักของสุเทษณ์เทพบุตร
ที่มีต่อนางมัทนาความรักของสุเทษณ์เป็นความรักที่เห็นแก่ตัว แฝงไปด้วยความอยาก
ครอบครอง มิได้เสียสละและเข้าใจความรักอย่างแท้จริง ความรักที่สุเทษณ์มีต่อนางมัทนา
ก่อให้นางเกิดทุกข์ เมื่อนางไม่รับรักก็สาปให้นางเป็นดอกกุหลาบตลอดไป
- ๓๕ -
๓. ความรักทำให้เกิดทุกข์
ดังคำกล่าวว่า “ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์” สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางมัทนาเมื่อ
นางไม่รับรักก็เจ็บปวดใจ ดังว่า
อ้าช่วยระงับดับ ทุขะพี่ระคายระคาง
พี่รักอนงค์นาง ผิมิสมฤดีถวิล
เหมือนพี่มิได้คง วรชีวชีวิติน-
ทรีย์ไซรับ่ใฝ่จิน- ตะนะห่วงและห่อนนิยม
ชีพอยู่ก็เหมือนตาย, เพราะมิวายระทวยระทม
ทุกข์ยากและกรากกรม อุระช้ำระกำทวี.
อ้าฟังดนูเถิด มะทะนาและตอบวจี
พอดูให้ดนูนี้ สุขะรื่นระเริงระรวย.
ยิ่งฟ้าพะจีศรี ก็ระตีประมวลประมูล,
ยิ่งขัดก็ยิ่งพูน ทุขะท่วมระทมหะทัย!
อ้าเจ้าลำเพาพักตร์ สิริลักษะณาวิไล,
พี่จวนจะคลั่งไคล้ สติเพื่อพะวงอนงค์.
๔. การพิจารณาตัดสินเรื่องใดควรใช้สติปัญญาประกอบกับเหตุผลเพื่อตัดสินความ
การที่ท้าวชัยเสนฟังความจากนางค่อมที่ใส่ร้ายนางมัทนาและศุภางค์ทหารเอกว่า
ลักลอบเป็นชู้กัน ด้วยความโกรธพระองค์จึงตัดสินให้ประหารชีวิตโดยมิพิจารณาให้ถ่องแท้
ทำให้นางมัทนาและศุภางค์ต้องรับทุกข์จากการตัดสินใจครั้งนี้โชคดีที่ผู้ที่มีรับสั่งให้เป็น
ผู้ประหาร ทั้งสองมีเมตตาทำให้รอดชีวิตในที่สุดและความจริงก็เปิดเผยนี่เป็นโชคดีแต่
ถ้าในทางกลับกันทั้งสองถูกประหารด้วยการใส่ความ การตัดสินด้วยอารมณ์ชั่ววูบทำให้
ทั้งสองสิ้นชีวิต แม้ความจริงจะเปิดเผยในภายหลังก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดกลับสร้าง
บาปและความทุกข์ใจให้แก่ท้าวชัยเสนมากขึ้นอีกด้วย
- ๓๖ -
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
๑. มีการใช้ภาพพจน์แบบอุปมาได้อย่างแนบเนียนทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพได้ชัดเจน
เช่น การใช้ภาพพจน์แบบอุปมาเปรียบเทียบโทษแห่งความรักดังนี้
ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดออกจากคอกไป บ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บหวนคิดถึงเจ็บกาย
การใช้ภาพพจน์แบบอุปมากล่าวถึงความงามของนางมัทนา
รูปเจ้าวิไลราว สุระแสร้งประจิตประจักษ์
มิควรจะร้างรัก เพราะพะธูพิถีพิถัน
๒. การใช้รูปแบบฉันทลักษณ์ที่เหมาะสมในการประพันธ์เนื้อเรื่อง
ในเรื่องนี้ถ้าดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็วจะใช้ร้อยแก้ว ถ้าต้องการจังหวะของเสียงและ
ความคล้องจองจะใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์และเพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึกมากก็จะใช้ฉันท์
ดังตอนที่สุเทษณ์ตัดพ้อนางมัทนาและนางมัทนาเจรจาโต้ตอบซึ่งใช้วสันตดิลกฉันท์ ทำให้มี
จังหวะรวดเร็ว เสริมการโต้ตอบให้ลีลาฉับไว ดังนี้
สุเทษณ์ : รักจริงมิจริงฤก็ไฉน อรไทบ่แจ้งการ?
มัทนา : รักจริงมิจริงก็สุระชาญ ชยะโปรดสถานใด?
สุเทษณ์ : พี่รักและหวังวธุระรัก และบทอดทิ้งไป?
มัทนา : พระรักสมัครณพระหทัย ฤจะทอดจะทิ้งเสีย?
สุเทษณ์ : ความรักสมัครณพระหทัย เพราะมิอาจจะคลอเคลีย
มัทนา : ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ
สุเทษณ์ : โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บมิตอบพะจีพอ?
มัทนา : โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี
- ๓๗ -
๓ . การใช้โวหารในการตัดพ้อเกี่ยวกับความรักระหว่างเทพบุตรสุเทษณ์และนางมัทนา
แสดงการใช้รสวรรณคดีแบบนารีปราโมทย์ที่ไพเราะและสละสลวยมาก แสดงถึง ความรักที่
สุเทษณ์เทพบุตรมีต่อนางมัทนาอย่างล้นพ้น ดังนี้
อ้ายอดสิเนหา มะทะนาวินวิสุทธิศรี,
อย่าทรงพระโศกี วรพักตร์จะหม่นจะหมอง.
พี่นี้จะรักเจ้า และจะเฝ้าประคับประคอง
คู่ชิดสนิทน้อง บ่มิควรระอาละอาย,
อันนารีกับชาย ฤก็ควรจะร่วมจะรัก
รูปเจ้าวิไลราว สุระแสร้งประจิตประจักษ์
มิควรจะร้างรัก เพราะพะธูพิถีพิถัน
ธาดาธสร้างองค์ อรเพราะพิสุทธิสรรพ์
ไว้เพื่อจะผูกพัน- ธนะจิตตะจองฤดี.
อันพี่สิบุญแล้ว ก็เผอิญประสบสุรี
๔. การใช้ถ้อยคำที่สั้นและกะทัดรัดแต่สามารถสื่อความได้ครบถ้วน ดังพิจารณาได้จาก
คำอธิบายคุณสมบัติของดอกกุหลาบที่มายาวินทูลแนะนำสุเทษณ์ เน้นการใช้ภาษาที่อธิบาย
ลักษณะของดอกกุหลาบและประโยชน์ของดอกกุหลาบได้อย่างชัดเจน ดังนี้
มายาวิน ไม้เรียกผะกากุพ- ชะกะสีอรุณแสง
ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณีณยามอาย;
ดอกใหญ่และเกสร สุวคนธะมากมาย,
อยู่ทนบวางวาย มธุรสขจรไกล
อีกทั้งสะพรั่งหนาม ดุจะเข็มประดับไว้
ผึ้งเขียวสิบนไขว่ บมิใคร่จะห่างเหิน
อันกุพชะกาหอม บริโภคอร่อยเพลิน
รสหวานสิหวานเชิญ นรลิ้มเพราะเลิศรส
- ๓๘ -
กินแล้วระงับตรี พิธะโทษหายหมด
คือลมและดีลด ทุษะเสมหะเสื่อมสรรพ์
อีกทั้งเจริญกา มะคุณาภิรมย์นันท์
เย็นในอุราพลัน และระงับพยาธี
( อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ )
๕. การใช้ภาษาโต้ตอบระหว่างตัวละครก็ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ทำให้ลักษณะของการ
สนทนาดูสมจริง ดังนี้
นางมัทนา เทวะ , อันข้านี้ไซร้ มานี่อย่างไร บ ทราบสำนึกสักนิด
จำได้ว่าข้าสถิต ในสวนมาลิศ และลมรำเพยเชยใจ
แต่อยู่ดีดีทันใด บังเกิดร้อนใน อุระประหนึ่งไฟผลาญ
ร้อนจนสุดที่ทนทาน แรงไฟในราน ก็ล้มลงสิ้นสมฤดี
ฉันใดมาได้แห่งนี้ หรือว่าได้มี ผู้ใดไปอุ้มข้ามา
ขอพระองค์จงเมตตา และงดโทษข้า ผู้บุกรุกถึงลานใน
สุเทษณ์เทพบุตร อ้าอรเอกองค์อุไร พี่จะบอกให้ เจ้าทราบคดีดังจินต์
พี่เองใช้มายาวิน ให้เชิญยุพิน มาที่นี้ด้วยอาถรรพณ์
ลักษณะดีเด่นของมัทนะพาธา
๑. การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนำฉันท์มาแต่ง
เป็นบทละครพูด ซึ่งทรงทำได้เช่นนี้ เพราะพระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ทางภาษาและ
วรรณคดี จึงทรงสามารถ สรรคำที่ง่ายแก่การเข้าใจของผู้อ่านมาแต่งเป็นฉันท์
ซึ่งเป็นร้อยกรองที่แต่งยากเนื่องจากบังคับ ใช้คำครุ ลหุตามฉันทลักษณ์ทุกคำ
ทั้งยังทรงสามารถผูกเป็นบทเจรจาตามลักษณะของบทละครพูดให้ดำเนินเรื่องราว
ตามโครงเรื่องที่วางไว้ได้อย่างดี จนผู้อ่านสัมผัสได้ทั้งรสคำ รสความที่ไพเราะ
และความงดงามทางภาษา
- ๓๙ -
๒. การที่ทรงตั้งชื่อตัวละคร และสถานที่อันเป็นฉาก
ของเรื่องได้อย่างถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ คือ ยุคแห่งอาณาจักรพวกภารตะ
ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระภรต พระจักรพรรดิโบราณ ของอินเดียตามเรื่องมหาภารตะ
ซึ่งเป็นมหากาพย์สำคัญเรื่องหนึ่ง แต่งในประเทศอินเดียโบราณ เป็นมหากาพย์ภาษาสันสกฤต
เรื่องยาวที่สุดในโลก ที่ทรงแต่งได้เช่นนี้ก็เพราะพระองค์ทรงเชี่ยวชาญทางวรรณคดีภาษา
สันสกฤตด้วย
๓. ได้ทรงใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามแบบการเขียนภาษาอังกฤษมี
เครื่องหมายจุลภาค มหัพภาค ฯลฯ. ส่วนการสะกดการันต์นั้น ได้ทรงใช้วิสรรชนีย์
(สระอะ) กำกับเพื่อให้อ้านออกเสียงตาม พระราชประสงค์ เช่น ม–ณี (มณี) ดุจะ (ดุจ)
มะทะนา (มทนา) พ–ธู (พธู) ฯลฯ การเขียนอย่างแบบที่ทรงใช้นี้ ปรากฏว่าไม่มี
ผู้ใดใช้ตาม ทั้งนี้อาจขัดกับอักขรวิธีไทย ซึ่งใช้กันมานาน การที่ทรงใช้อักขรวิธีอย่าง
ที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ อาจเป็นเพราะทรงคิดมาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งทรงเชี่ยวชาญ
มากและอาจเป็นการทดลองดูก็ได้ สำหรับชื่อนางเอกของเรื่องนี้ มีพระราชปรารภ
ในคำนำของเรื่องฉบับ เดิมว่ามีพระราชดำริไว้ว่าจะใช้ชื่อนางเอกตามชื่อดอกไม้ แต่เมื่อทรง
ทราบว่าในภาษามคธ เรียกดอกกุหลาบว่า “ กุพชก ” ซึ่งถ้าแผลงสระ อะ เป็น อา จะได้ศัพท์
ว่า กุพชกา ซึ่งมีความหมายว่านางค่อม จึงไม่โปรด และได้ทรงหาคำศัพท์ต่างๆ ที่พอจะใช้เป็น
นามชองสตรี ก็ทรงเลือกเอา “ มัทนา ” จากศัพท์ “ มทน” ซึ่งมี ความหมายว่า ความลุ่มหลง
หรือความรัก ในขณะที่ทรงค้นหาชื่อ นางเอก ทรงพบศัพท์ “ มทนพาธา ” ซึ่ง
เซอร์โมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลไว้ว่า “ ความเจ็บปวด หรือ ความเดือดร้อนแห่งรัก”
ก็โปรดว่าเหมาะกับเนื้อเรื่อง จึงทรงตั้งชื่อเรื่องนี้ว่า “ มัทนะพาธา หรือ ตำนานแห่ง
ดอกกุหลาบ”
ที่ว่า ชื่อเรื่อง มัทนะพาธา เหมาะกับเนื้อเรื่องก็เพราะตามเนื้อเรื่อง ตัวละครทุกตัว
ในเรื่องที่มีความรักต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นความรักฉันคู่รัก ฉันพ่อกับลูก หรือ ฉันเจ้ากับข้า
ก็ล้วนประสบกับความเดือดร้อนจากความรัก ตรงกับพุทธโอวาทของพระพุทธองค์
ที่กล่าวว่า “ ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ”
- ๔๐ -
คำศัพท์ยากจากเนื้อเรื่อง
กระบิดกระบวนความ พูดอย่างมีชั้นเชิง
กละ เล่ห์เหลี่ยม
กระลิง จับ, ถือ
กุพชกะ ดอกกุหลาบมาจากคำว่า กุพฺชก ในภาษาสันสกฤต
คู่สะมร คู่รักมาจากคู่สมรส
คร่าห์ ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี
จระ ไป, เที่ยวไป
ดนุ ฉัน ข้าพเจ้า
ตนุ พี่
ดรุณี ดรุณี หญิงอันเป็นที่รัก ในเรื่องบทละครพูดคำฉันท์
ปรากฏ คำไวพจน์ที่ หมายถึงหญิงอันเป็นที่รักเป็นจำนวน
มาก เช่น นงคราญ นงรัตน์ โฉมฉาย วนิดา นาริ เป็นต้น
มธุรส รสหวาน ไพเราะ
นระ คน , ชาย
ธาดา พระพรหม มักเรียกว่า ท้าวธาดา หรือจตุรพักตร์ ก็เรียก
ประดิพัทธ์ จิตใจรักใคร่ชอบพอ
ประจิต สร้าง
ประติชญา คำมั่นสัญญา
ประระเศรษฐะ ประเสริฐ
พะจี คำพูดมาจาก พจี หรือ วจี
พระฤาสาย คำใช้เรียกผู้เป็นใหญ่ ใช้ ลือสายก็ได้
พังภิณ แตกสลาย
- ๔๑-
พิศะ แลดู
พิลาป คร่ำครวญ
มรุ เทวดา
มโนวิญญาณ จิตใจ
มาลิศ ดอกไม้
มิลักขู คนป่า
มละ ละทิ้ง
ยล ดู
ยุบล ข่าว ข้อความเรื่องราว
ยุวะ ชายหนุ่ม
ยุวะมาลย์ ดอกไม้
ระตี ความรัก
ลำเพาพักตร์ รูปงาม
วรพจน์ ถ้อยคำอันไพเราะ
วาที คำพูด
วะธุ หญิงสาว
สวาหาย เป็นคำกล่าวเมื่อจบการเสกเป่า
สิ้นสมฤดี ไม่ได้สติ
สมจิน สมใจ
สุดารา ดวงดาว
สบถ การอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ลงโทษตน
สุรางค์ นางสวรรค์
สุราลัย ที่อยู่ของเทวดา
- ๔๒ -
สุรางศ์ นางฟ้า
ศัลยะ ลูกศร
อภิระตี นางผู้น่ารักใคร่อย่างยิ่งมาจากอภิรดี
อุวาทา คำพูดไม่ไพเราะ
อุราบ อก
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสีกุหลาบสื่อความหมาย
ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และ
ของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมาย
ของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความหมาย ดังนี้
ช่อกุหลาบสื่อความหมาย
คุณทราบไหมว่าจำนวนดอกกุหลาบในช่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อความหมายได้เช่นกัน
และในวันวาเลนไทน์หรือวันไหนๆ ถ้าคุณได้ช่อดอกกุหลาบจากใครสักคน เขาคนนั้นอาจ
กำลังต้องการสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้คุณรู้ก็เป็นได้
www.kapukkapui.space.live.com
- ๔๓ -
จำนวนดอกกุหลาบ ความหมาย
รักแรกพบ ๑ รักแรกพบ
- แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
๓ ฉันรักเธอ
๗ คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
๙ เราสองคนจะรักกันตลอดไป
๑๐ คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
๑๑ คุณเป็นสมบัติชิ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
๑๒ ขอให้เธอเป็นคู่ของฉันเพียงคนเดียว
๑๓ เพื่อนแท้เสมอ
๑๕ ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
๒๐ ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
๒๑ ชีวิตินี้ฉันมอบเพื่อเธอ
๓๖ ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
๔๐ ความรักของฉันเป็นรักแท้
๙๙ ฉันรักเธอจนวันตาย
๑๐๐ ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
๑๐๑ ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
|
|
|