ลิลิตตะเลงพ่าย

อ่าน 9532 | ตอบ 2

บทนำ

วรรณคดีไทย

เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายใช้คำประพันธ์หลากหลายประเภทได้แก่ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ โคลงสี่สภาพและร่ายสุภาพ โดยแต่งสลับสับเปลี่ยนกันไป รวมจำนวนทั้งสิ้น 439 บท ซึ่งวรรณคดีเรื่องนี้มีต้นแบบในการประพันธ์มาจากเรื่อง ลิลิตยวนพ่ายที่ประพันธ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งแต่งโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมารุชิตชิโนรส เพื่อสดุดีพระวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คราวศึกสงครามยุทธหัตถีและใช้ในงานฉลองวัดพระเชตุพนฯในใมยรัชกาลที่ 3

1.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปิตา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ (5 เมษายน พ.ศ. 2357 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2415)

ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 5 แรม 1 ค่ำ ปีจอ เบญจศก จุลศักราช 1176 ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2357 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาอัมพา ทรงเป็นต้นราชสกุลกปิตถา

ในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ และโปรดเกล้าให้ทรงกำกับกรมพระอาลักษณ์

สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่ออาทิตย์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1234 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2415 พระชันษา 59 ปี

พระโอรส-พระธิดา

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ)

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือพระองค์ดำ พระมหาธรรมราชาเป็นพระบรมชนกนาถ มีพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ กษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถ เป็นผู้ประกาศเอกราชหลังจากที่เสียไปให้กับพม่าถึง ๑๕ ปี รวมทั้งขยายราชอาณาจักรให้กว้างใหญ่ ทำสงครามกับพม่า จนพม่าหวาดกลัวไม่กล้ามารบกับไทยอีกเลยเป็นเวลาร้อยกว่าปี ทรงเสด็จสวรรคตในขณะที่เสด็จไปทำศึกกับกรุงอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นระลอกที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษ ประชวรได้ ๓ วัน จึงเสด็จสวรรคต วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕

สมเด็จพระเอกาทศรถหรือพระองค์ขาว อนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก แต่มีเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ทรงออกศึกทำสงครามร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรตลอด และทรงครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร พระนามว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๓ มีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี สององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนม อีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ พรรษาเศษ ครองราชย์ได้ห้าปี

สมเด็จพระมหาธรรมราชาหรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระราชบิดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย พระราชมารดาเป็นพระญาติฝ่ายพระราชชนนี สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทรเทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหาอุปราช ได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ พระสุพรรณเทวี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ

สมเด็จพระวันรัตเดิมชื่อพระมหาเถรคันฉ่อง พระชาวมอญ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแก้ว หรือวัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน มีบทบาทครั้งสำคัญ คือ ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ท่านเป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้พระยาเกียรติ์ และพระยารามที่พระเจ้าหงสาวดีส่งมาให้ลอบกำจัดพระนเรศวร พระมหาเถรคันฉ่องทราบก่อน จึงนำความกราบทูลพระนเรศวร และเกลี้ยกล่อมให้ พระยาเกียรติ์ และพระยาราม รับสารภาพและเข้าร่วมกับพระนเรศวร

วีรกรรมอีกครั้งหนึ่งของท่านคือ การขอพระราชทานอภัยโทษ บรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรไม่ทัน ต้องโทษประหารชีวิต สมเด็จพระวันรัตได้ขอบิณฑบาต พระราชทานอภัยโทษบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลาย

 

พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพกองหน้าที่สมเด็จพระนเรศวรตั้งขึ้น มีกำลังพล ๕ หมื่น ยกไปตั้งที่หนองสาหร่าย แต่ไม่สามารถต้านทานทัพพม่าที่มีกำลังถึง ๕ แสนได้สมเด็จพระนเรศวรจึงมีโองการให้ถอยทัพเพื่อจะตีโอบล้อมจนได้รับชัยชนะในที่สุด หลังจากนั้นพระยาศรีไสยณรงค์ได้ตามทัพพระยาจักรียกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด เพื่อเป็นการไถ่โทษ

 

ปลัดทัพหน้า ที่สมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งให้ไปรบเป็นเพื่อนกับพระยาศรีไสยณรงค์

ทำหน้ารับผิดชอบด้านการต่างประเทศ ถูกอาญาประหารชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าพระยาคลัง แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีทวาย เป็นการไถ่โทษ

ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการพลเรือน และดูแลหัวเมืองทางภาคกลางและภาคเหนือ ถูกอาญาประหารชีวิตในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แต่พระวันรัตมาขอพระราชทานอภัยโทษ สมเด็จพระนเรศวรพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด เป็นการไถ่โทษ

กลางช้างของพระนเรศวร หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี และไม่โดนอาญาประหารชีวิต แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ
ขุนศรีคชคง ควาญช้างของพระเอกาทศรถ แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี

นายมหานุภาพ

ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิตในช่วงที่กระทำยุทธหัตถี และได้รับพระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ

                                              เรื่องย่อ

        เริ่มประพันธ์ด้วยการกล่าวชมบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วจึงเข้าสู่เนื้อความที่ถอดความได้ดังนี้ สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงสวรรคตจึงมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ซึ่งผู้ที่ได้สืบครองราชย์ต่อคือสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งอาจมีการรบเพื่อแย่งราชบัลลังก์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรศถ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงได้ส่งกองทัพมาเพื่อเป็นการเตือนว่าหากบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาไม่สงบ พม่าพร้อมที่จะโจมตีทันที ซึ่งพระดำรินี้ได้รับความเห็นชอบจากเหล่าขุนนางทั้งหลายก็มีความเห็นตามนี้ พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้ซึ่งเป็นโอรสและพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ไปเตรียมกองทัพร่วมกัน แต่โหรได้ทำนายว่าพระมหาอุปราชานั้นจะมีดวงถึงฆาต แต่ด้วยความเกรงในพระบิดาพระองค์จึงไม่ทรงขัดพระทัย ในระหว่างช่วงนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เตรียมกองทัพในการไปท่ำศึกกับกัมพูชาที่ได้นำทัพมารบในขณะที่ไทยกำลังรบอยู่กับพม่า แต่เมื่อทรงทราบว่าพม่าได้ยกทัพมาพระองค์จึงนำกำลังส่วนนี้ไปตั้งทัพรอรับศึกพม่าแทน โดยทรงบัญชาให้ทัพหน้าไปประจำที่ตำบลหนองสาหร่าย ส่วนทัพพม่านั้นได้นำทัพจำนวน 5 แสนชีวิตผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ไทรโยคลำกระเพินแล้วจึงเข้ามายึดเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้นำทัพผ่านเข้ามาทางพนมทวน ณ ที่แห่งนี้ได้เกิดลมเวรัมภาที่พัดจนฉัตรพระมหาอุปราชาหักลง ทรงพักค่ายที่ตำบลตระพังตรุ ทางฝั่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถเคลื่อนทัพทางน้ำ โดยขึ้นบกที่อำเภอป่าโมกข์ ซึ่งที่นี่ได้เกิดศุภนิมิตขึ้น จากนั้นได้นำพลไปพักค่ายที่อำเภอหนองสาหร่าย ซึ่งได้ทรงทราบว่าทหารพม่ามาลาดตระเวณอยู่ในบริเวณนี้จึงมีพระบัญชาให้กองทัพหน้าเข้าโจมตีทันที แล้วทำทีเป็นถอยร่นเข้ามาเพื่อให้ข้าศึกเกิดความประมาท ซึ่งทัพหลวงจะออกมาช่วยหลังจากนั้น แต่บังเอิญว่าช้างทรงทั้งของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถนั้นตกมัน จึงหลงเข้าไปอยู่ตรงใจกลางของทัพข้าศึกทำให้แม่ทัพต่างๆเสด็จตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรจึงได้กล่าวท้าให้พระมหาอุปราชออกมาทำยุทธหัตถีกัน ท้ายที่สุดสมเด็จพระนเศวรทรงมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเอกาทศรถมีชัยเหนือมังจาชโร หลังจากที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป สมเด็จพระนเรศวรได้มีพระบัญชาให้สร้างสถูปเจดีย์ขึ้นที่นี่ แล้วยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ในเรื่องนี้กวีได้จบเรื่องด้วยการประพันธ์โคลงสดุดีและได้ประพันธ์ถึงทศพิธราชธรรม จักรพรรดิวัตรและปิดเรื่องด้วยชื่อผู้ประพันธ์และจุดประสงค์ในการประพันธ์

                                         เนื้อหาทั้งหมด
ตอนที่ 1 เริ่มต้นบทกวี

เนื่องด้วยพระเดชานุภาพของกษัตริย์ไทยที่สามารถมีชัยเหนือศัตรู ซึ่งมีการเลิ่องลือพระเกียรติยศไปทั่วหล้า ทำให้เหล่ากษัตริย์เมืองต่างๆรู้สึกหวั่นเกรงและไม่กล้าที่จะออกรบด้วย จึงได้นำบ้านเมืองมาถวายเป็นเมืองขึ้นแก่ไทยซึ่งมีกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถทำให้แผ่นดินไทยสงบสุข เมื่อเมืองอื่นๆได้ยินชื่อต่างก็หวั่นเกรง เปรียบได้กับพระรามซึ่งมีชัยเหนือทศกัณฐ์ สามารถมีชัยเหนือข้าศึกในทุกครั้ง เปรียบเสมือนพระนารายณ์ที่ลงมาเกิด ซึ่งเหล่าข้าศึกไม่กล้าสู้รบด้วยและหนีไปที่อื่น และกษัตริย์ต่างๆก็ได้ยกย่องและสรรเสริญ

ฝั่งมอญหรือพม่าได้ข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาสวรรคต ซึ่งมีสมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ต่อ ซึ่งพระเจ้านันทบุเรงผู้เป็นกษัตริย์ของพม่าได้คิดว่าอาจมีการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ จึงได้นำทัพมาเตรียมหากว่ามีเหตุการณ์ไม่สงบจะได้โจมตีอยุธยา โดยได้มีบัญชาให้พระมหาอุปราชาและพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่มาเตรียมทัพทั้งสิ้น 5 แสนคน แต่พระมหาอุปราชาได้ทูลว่าพระองค์กำลังมีเคราะห์ถึงตายตามที่โหรได้ทำนายเอาไว้ พระเจ้านันทบุเรงจึงพูดประชดเพื่อให้เกิดมานะว่าหากมีความหวาดกลัวต่อเคราะห์ ก็ให้นำเอาผ้าของผู้หญิงมาสวมใส่ พระมหาอุปราชามีความรู้สึกอายเหล่าขุนนางจึงกราบลาพระเจ้านันทบุเรงและเกณฑ์ทหารไปรบ จากนั้นจึงสั่งลาพระสนม สรงน้ำแล้วแต่งพระองค์ด้วยสนับเพลา รัดผ้าคาดและสวมพระภูษา จากนั้นจึงสวมกำไลที่ตกแต่งด้วยแก้วลายมังกร ผ้าตาบที่ตกแต่งจากแก้วไพฑูรย์ สายสะอึ้งที่ทำมาจากพลอย สายสังวาล และที่ศีรษะทรงใส่มงกุฎเทริดรูปพญานาคแบบที่กษัตริย์มอญทรงใส่กัน พระธำมรงค์มีแสงสีรุ้ง มีแก้ว 9 ประการ มีความสง่าสมกัยที่เป็นกษัตริน์ ทรงเดินอย่างมีอำนาจและถืออาวุธไว้ที่พระหัตถ์ แล้วจึงทูลลาพระเจ้านันทบุเรงเพื่อไปรบกับสยาม พระเจ้านันทบุเรงได้พระราชทานพรให้ทำศึกได้ชนะสมเด็จพระนเรศวร รวมถึงพระราชทานโอวาทในการทำศึก ซึ่งมี 8 ข้อดังต่อไปนี้

1.ให้เอาอกเอาใจทหาร

2.อย่ามีความขลาด

3.อย่าโง่เขลาและเบาความ

4.ให้รู้จักกับกระบวนทัพของข้าศึก และมีความเชี่ยวชาญ

5.รู้วิชาเกี่ยวกับรบ

6.รู้จักการตั้งค่ายทหาร

7.รู้จักให้รางวัลแก่นายทัพ

8.รู้จักมีความพากเพียร

เมื่อฟังจบพระมหาอุปราชารับพรและทูลลาพระราชบิดา ส่วนนายช้างรื่นเริงแกล้วกล้าขี่ช้างพันธกอมารับพระมหาอุปราชา แล้วจึงได้เริ่มเคลื่อนทัพออกไป

พระมหาอุปราชาได้รำพึงรำพันถึงเหล่านางสนมว่าได้ออกเดินทางมารบเพียงคนเดียวทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ เมื่อเห็นไม้ที่สวยงาม ก็นึกไปถึงนางอันเป็นที่รัก เมื่อมาถึงที่กาญจนบุรึ กองระวังด่านได้สอดแนมและสังเกตจากฉัตรจึงทราบได้ว่าเป็นมอญที่มีพระมหาอุปราชาเป็นผู้นำทัพมาจึงไปแจ้งแก่เจ้าเมือง แต่ชาวกาญจนบุรีไม่สามารถที่จะต้านกองทัพพม่าได้ จึงได้เข้าไปหลบในป่าเพื่อดูว่าพม่ามีกลยุทธ์ใดบ้างและได้ส่งข่าวให้กรุงศรีอยุธยาได้ทราบ ส่วนพระมหาอุปราชาได้ให้พระยาจิดตองเป็นผู้นำในการทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำกระเพินมาที่กาญจนบุรีซึ่งได้กลายเป็นเมืองร้าง ได้ทรงพักค่ายที่ในเมือง เมื่อได้เคลื่อนกองทัพมาจนถึงตำบลพนมทวนก็เกิดลมเวรัมภาพัดมาทำให้เศวตฉัตรของพระมหาอุปราชาหัก พระองค์ได้ทรงเรียกโหรมาทำนาย เหล่าโหรรู้ว่าเหตุการณ์นี้เป็นลางร้าย แต่กลัวพระอาญาจึงทูลว่าพระองค์จะปราบทัพไทยได้และอย่าทรงกังวล แต่พระองค์ทรงไม่เชื่อในคำทำนายที่โหรได้ทำนายให้ และได้ทรงหวั่นไปแล้วว่าจะแพ้แก่อยุธยา รวมถึงได้นึกถึงพระบิดาที่จะขาดคนให้คำปรึกษาหลังจากที่ได้เสีบพระโอรสไป และคิดว่าไม่อาจจะกลับไปตอบแทนพระคุณได้

ในเวลาเดียวกัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงถามทุกข์สุขของราษฎรและได้ตัดสินคดีความต่างๆด้วยความยุติธรรม หลังจากนั้นก็ได้ปรึกษาเหล่าขุนนางเพื่อเตรียมยกทัพไปตีเขมร โดยจะนำกำลังพลจากทางใต้มาช่วย และพระองค์ได้ทรงบัญชาให้ พระยาจักรี เป็นคนดูแลพระนครหากว่ากองทัพมอญได้ยกทัพมาในระหว่างการรบกับเขมร แล้วทูตจากกาญจนบุรีก็ได้เข้ามาที่ท้องพระโรง

สมเด็จพระนเรศวรกำลังจะยกทัพไปตีเขมร แต่บังเอิญว่าฝ่ายมอญยกทัพเข้ามา ทำให้พระองค์ต้องนำกองทัพไปรบกับมอญก่อน โดยพระองค์ทรงประกาศเกณฑ์พลทหารจากเมืองกาญจนบุรีจำนวน 500 คนสำหรับไปสอดแนมบริเวณลำน้ำกระเพิน และให้ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำ หลังจากนั้นพระองค์ได้รับรายงานศึกจากทูตเมืองต่างๆเป็นการเน้นย้ำว่าครั้งนี้พม่าได้ยกทัพมาจริง พระนเรศวรจึงได้นำความมาปรึกษากับอกมาตย์ได้ข้สรุปว่าควรจะทำศึกนอกเมืองซึ่งข้อสรุปนี้ก็ตรงกับพระประสงค์ของพระองค์อยู่แล้ว พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้มีการเกณฑ์ทหารจากหัวเมืองต่างๆ โดยมองหมายให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นกองทัพหน้า และให้มีปลัดทัพคือพระราชฤทธานนท์พร้อมด้วยพลทหารจำนวน 5 หมื่นคนให้ออกไปรบก่อน ซึ่งหากไม่สามารถที่จะสู้ได้ พระองค์จะเสด็จมาช่วย ต่อจากนั้นแม่ทัพทั้งสองได้ทูลลา และยกทัพไปที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี โดยตั้งค่ายตามชัยภูมิสีหนาม เพื่อเตรียมพร้อมในการออกรบรวมถึงเป็นการลวงให้ข้าศึกทำการต่อสู้ได้ลำบากมากยิ่งขึ้น

ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ

สมเด็จพระนเรศวรได้ให้โหรทำการหาฤกษ์ที่เหมาะในการยกทัพหลวง โดยหลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปเป็นผู้คำนวนหาฤกษ์ได้คือ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ ในเวลา 8.30 นาฬิกา ส่วนพระสุบินที่ทรงฝันว่าพระองค์ทรงเห็นน้ำท่วมป่าในทิศตะวันตก และในขณะที่ทรงลุยน้ำได้เกิดการปะทะและต่อสู้กับจระเข้ตัวใหญ่ สุดท้ายพระองค์ได้ใช้พระแสงดาบฟันจระเข้จนตาย แล้วสายน้ำก็แห้งไป สามารถทำนายโดยพระโหราธิบดีได้ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดจากเทวดาสังหรณ์ โดยอธิบายต่อว่า กระแสน้ำในทิศตะวันตกก็เปรียบได้กับกองทัพพม่า จระเข้คือพระมหาอุปราชา และสงครามครั้งนี้เป็นสงครามใหญ่ที่จะเกิดการรบบนหลังช้าง ส่วนที่พระองค์ชนะจระเข้ทำนายได้ว่าพระองค์จะชนะศัตรูได้ด้วยพระแสงของ้าว การที่พระองค์ทรงลุยไปในกระแสน้ำทำนายได้ว่าพระองค์จะบุกเข้าไปในกลุ่มข้าศึกจนข้าศึกเหล่านั้นแตกพ่ายไป หลังจากนั้นพระองค์และสมเด็จพระเอกาทศรถได้เสด็จไปที่บริเวณเกยทรงช้างเพื่อรอฤกษ์ และขณะนั้นเองที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุขนาดเท่ากับผลส้มเกลี้ยงๆที่ลอยมาจากท้องฟ้าทิศใต้และเวียนทักษิณาวรรค 3 รอบ รอบบริเวณกองทัพแล้วจึงวนไปทิศเหนือ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุบันดาลให้พระองค์มีชัยชนะเหนือเหล่าข้าศึก แล้วจึงเคลื่อนทัพออกไป โดยช้างทรงพระนเรศวรคือเจ้าพระยาไชยานุภาพ และช้างทรงสมเด็จพระเอกาทศรถคือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร

พระมหาอุปราชาได้ให้ฝ่ายกองตระเวนของมอญซึ่งได้แก่ สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วนและกองกำลังม้า 500 คนมาสืบดูการเคลื่อนไหวของฝ่ายไทย ซึ่งพบว่ามาตั้งค่ายอยู่บริเวณหนองสาหร่าย จึงไปทูลให้พระมหาอุปราชาทราบ และเมื่อพระมหาอุปราชาให้ประมาณกองกำลังไทยจึงทูลตอบไปว่ามี 1 แสนถึง 1 แสนแปดหมื่นคน ซึ่งทรงเห็นว่าพระองค์มีกองกำลังจำนวนที่มากกว่าและควรที่จะโจมตีให้ได้ในตอนแรกเลย แล้วค่อยไปล้อมกรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงราชสมบัติในภายหลัง จึงได้มีบัญชาไปถึงเหล่าทหารให้จัดเตรียมกองทัพในเวลา 3 นาฬิกา เมื่อ 5 นาฬิกาก็ได้เคลื่อนทัพออกไป โดยพระมหาอุปราชาประทัพช้างชื่อพลายพัทธกอซึ่งกำลังตกมันอยู๋ เพื่อให้พร้อมสำหรับการโจมตีในตอนเช้า ส่วนฝ่ายไทย พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ได้รับพระบรมราชโองการให้โจมตีข้าศึก โดยจัดรูปแบบทัพแบบตรีเสนา ซึ่งเป็นการจัดทัพที่แบ่งทัพใหญ่ออกเป็น 3 ทัพย่อยๆ และแต่ละทัพนั้นยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 กองด้วยกัน ได้แก่

1.กองหน้า

เจ้าเมืองธนบุรี = นายกองหน้าปีกซ้าย

เจ้าเมืองนนทบุรี = นายกองหน้าปีกขวา

พระยาสุพรรณบุรี = นายกองหน้า

2.กองหลวง

เจ้าเมืองสรรคบุรี = นายกองปีกซ้าย

เจ้าเมืองสิงห์บุรี = นายกองปีกขวา

พระยาศรีไสยณรงค์ = แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ

3.กองหลัง

เจ้าเมืองชัยนาท = นายกองหลังปีกซ้าย

พระยาวิเศษชัยชาญ = นายกองหลังปีกขวา

พระราชฤทธานนท์ = ปลัดทัพคุมกองหลัง

ในเวลาประมาณ 7 นาฬิกากองทัพไทยที่เคลื่อนทัพจากหนองสาหร่ายก็มาถึงโคกเผาข้าว และได้ปะทะกับกองทัพมอญที่นี่ ซึ่งได้เกิดการต่อสู้เป็นคู่ด้วยอาวุธชนิดเดียวกัน เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก สุดท้ายกองทัพมอญที่มีจำนวนมากกว่าได้เคลื่อนที่มาล้อมกองทัพไทย ทำให้ต้องถอยทัพออกมาก่อน ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เตรียมกองกำลังไว้พร้อมแล้ว

ในขณะที่พราหมณ์ได้ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยได้นำพระแสงดาบอาญาสิทธิ์มาทำพิธีตัดไม้ข่มนาม สมเด็จพระนเรศวรทรงได้ยินเสียงปืน จึงมีบัญชาให้หมื่นทิพเสนาไปสืบข่าว หมื่นทิพเสนาได้กลับมาพร้อมกับขุนหมื่นมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร และกราบทูลว่าทัพไทยได้สู้รบกับทัพมอญบริเวณตำบลโคกเผาข้าวตอน 7 นาฬิกาและได้ถอยร่นกองกำลังเข้ามาเนื่องจากข้าศึกมีจำนวนมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรได้ปรึกษากับแม่ทัพ โดยแม่ทัพทูลให้พระองค์ส่งกองทัพออกไปต้านทัพพม่า แต่พระองค์ทรงเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทัพไทยต้องแตกพ่ายอีกครั้ง จึงได้ข้อสรุปว่าให้กองทัพที่แตกพ่ายนั้นถอยทัพเข้ามาเพื่อลวงให้ข้าศึกยกทัพตามเข้ามา จากนั้นนำกองทัพใหญ่ออกโจมตีแทน ซึ่งวิธีการนี้น่าจะได้รับชัยชนะได้อย่างไม่ยากนัก พระองค์จึงมีคำสั่งให้หมื่นทิพเสนาและหมื่นราชามาตย์ไปบอกให้ทัพหน้ารับถอยทัพ ส่วนพม่าที่ไม่รู้ในอุบายครั้งนี้ก็ได้รุกไล่เข้ามาตามที่ได้ทรงวางแผนไว้

ขณะที่กองทัพฝ่ายไทยกำลังรอฤกษ์ในการเคลื่อนทัพ ก็ได้ปรากฎเมฆลอยอยู่ในทิศตะวันตกเฉี่ยงเหนือ แต่หลังจากนั้นท้องฟ้าก็กลับเป็นปกติ มีแสงอาทิตย์ส่องลงมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นนิมิตที่บ่งบอกถึงความโชคดี หลังจากนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถและสมเด็จพระนเรศวรได้เคลื่อนย้ายกองทัพรูปเกล็ดนาคตามที่ได้มีการกล่าวไว้ในตำราพิชัยสงคราม และได้เกิดการปะทะกับทัพของฝ่ายพม่า บังเอิญว่าพระเจ้าไชยานุภาพและเจ้าพระยาปราบไตรจักรได้ยินเสียงฆ้อง เสีลงกลอง เสียงปืน จึงได้วิ่งจนเจ้าไปใกล้กับกองหน้าของทัพข้าศึกทำให้มีเพียงกลางช้างและควาญช้างจำนวน 4 คนที่ตามเสด็จได้ทัน โดยช้างทรงได้แทงช้างข้าศึกทำให้ทหารพม่าเสียชีวิตไปมากมาย ทหารพม่าได้พยายามยิงปืนแต่ไม่สามารถทำอันตรายช้างทรงได้ ซึ่งในการต่อสู้ครั้งนั้นได้มีฝุ่นจำนวนมากทำให้วิสัยทัศน์ไม่ดี มองเห็นไม่สะดวก พระนเรศวรได้ตรัสแก่เหล่าเทวดาว่า ที่ท่านเหล่านั้นได้ทำให้พระองค์มาประสูติเนื่องจากได้หวังให้พระองค์มาเป็นกษัตริย์และบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง แล้วเพราะอะไรท่านเหล่านั้นจึงไม่ทำให้ท้องฟ้าสว่างเพื่อให้เห็นข้าศึกได้ชัด หลังจากนั้นท้องฟ้าก็เป็นปกติและพระองค์ทั้งสองทรงเห็นพระมหาอุปราชาถูกล้อมรอบด้วยทหาร ใต้ต้นข่อย จึงได้บังคับช้างเข้าไป ข้าศึกบางส่วนยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็ไม่ได้โดนพระวรกายแต่อย่างใด

ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย

สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงเชิญพระมหาอุปราชามาทำศึกร่วมกัน โดยเริ่มด้วยการกล่าวถึงพระเดชานุภาพ และเชิญมาทำการรบบนคอช้างร่วมกัน หลังจากที่ได้ตรัสเสร็จ พระมหาอุปราชาได้เกิดขัตติยมานะแล้วได้นำช้างเข้าสู้รบ ซึ่งกวีประพันธ์ว่าช้างทรงทั้งสองเปรียบเสมือนช้างเอราวัณและช้างคีรีเมขล์ซึ่งเป็นพาหนะพญามารวัสวตี และกษัตริย์ทั้งสองได้มาทำสงครามกันเปรียบดั่งสงครามของพระรามและทศกัณฐ์ เมื่อช้างทรงของพระนเรศวรได้โถมตัวเข้าหาช้างทรงพระมหาอุปราชา ช้างทรงประมหาอุปราชาอยู่ด้านล่างและได้ใช้งาทำให้ช้างทรงสมเด็จพระนเรศวรแหงนหน้าขึ้น จากนั้นพระมหาอุปราชได้เงื้อพระแสงของ้าวเพื่อที่จะฟันและสมเด็จพระนเรศวรทรงหลบได้ ต่อจากนั้นช้างทรงพระนเรศวรได้อยู่ด้านล่างจึงใช้งาทำให้ช้างพระมหาอุปราชาหงายหลังและในจังหวะนั้นเองสมเด็จพระนเรศวรได้ใช้พระแสงของ้าวฟันที่พระอังสะขวาของพระมหาอุปราชาจนขาดสะพายแล่ง พระวรกายของพระมหาอุปราชาได้เอนลงมาซบอยู่บนคอช้าง ส่วนนายมหานุภาพซึ่งเป็นควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวรได้ถูกปืนเสียชีวิต ด้านสมเด็จพระเอกาทศรถได้ฟันมางจาชโรตายด้วยพระแสงของ้าวบนหลังพลายพัชเนียร และหมื่นภักดีศวรผู้เป็นกลางช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถถูกปืนเสียชีวิต ส่วนกองทัพไทยที่ตามมาถึงทีหลังได้มาฆ่าทหารพม่า และทหารบางส่วนได้หนีเข้าป่าไป


                                                    เนื้อเรื่องแบบร่าย

ตอนที่ ๑ อาเศียรวาท

ศรีสวัสดิเดชะ ชนะราชอรินทร์ ยินพระยศเกริกเกรียง เพียงพกแผ่นฟากฟ้า หล้าล่มเลื่องชัยเชวง เกรงพระเกียรติระย่อ ฝ่อใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า บค้าอาตม์ออกรงค์ บคงอาตม์ออกฤทธิ์ ท้าวทั่วทิศทั่วเทศ ไท้ทุกเขตทุกด้าว น้าวมกุฎมานบ น้อมพิภพมานอบ มอบบัวบาทวิบุล อดุลยานุภาพ ปราบดัสกรแกลนกลัว หัวหั่นหายกายกลาด ดาษเต็มท่งเต็มดอน พม่ามอญพ่ายหนี ศรีอโยธยารมเยศ พิเศษสุขบำเทิง สำเริงราชสถาน สำราญราชสถิต พิพิธโภคสมบัติ พิพัฒน์โภคสมบูรณ์ พูนพิภพดับเข็ญ เย็นพิภพดับทุกข์ สนุกสบสีมา ส่ำเสนานอบเกล้า ส่ำสนมเฝ้าฝ่ายใน ส่ำพลไกรเกริกหาญ ส่ำพลสารสินธพ สบศาสตราศรเพลิง เถลิงพระเกียรติฟุ้งฟ้า ลือตรลบแหล่งหล้า โลกล้วนสดุดี

   
บุญเจ้าจอมภพพื้น แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดังฤทธิ์ราม รอนราพณ์ แลฤๅ
ราญอริราชแผ้ว แผกแพ้ทุกภาย
   
ไพรินทรนาศเพี้ยง พลมาร
พระดั่งองค์อวตาร แต่กี้
แสนเศิกห่อนหาญราญ รอฤทธิ์ พระฤๅ
ดาลตระดกเดชลี้ ประลาตหล้าแหล่งสถาน
   
เสร็จเสวยศวรรเยศอ้าง ไอยศูรย์ สรวงฤๅ
เย็นพระยศปูนเดือน เด่นฟ้า
เกษมสุขส่องสมบูรณ์ บานทวีป
สว่างทุกข์ทุกธเรศหล้า แหล่งล้วนสรรเสริญ ฯลฯ

ตอนที่ ๒ เหตุการณ์ทางเมืองมอญ

ร่าย ๕/ ฝ่ายพระนครรามัญ ขัณฑ์เขตด้าวอัสดง หงสาวดีบุเรศ รั่วรู้เหตุบมิหึง แห่งเอิกอึงกิดาการ ฝ่ายพสุธารออกทิศ ว่าอดิศวรกษัตรา มหาธรรมราชนรินทร์ เจ้าปถพินทร์ผ่านทวีป ดับชนมชีพพิราลัย เอารสไทนฤเบศ นเรศวรเสวยศวรรยา แจ้งกิจจาตระหนัก จึ่งพระปิ่นปักธาษตรี บุรีรัตนหงสา ธก็บัญชาพิภาษ ด้วยมวลมาตยากร ว่านครรามินทร์ ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร เพื่อกษัตริย์สองสู้ บร้างรู้เหตุผล ควรยาตรพลไปเยือน เตือนประยุทธ์เอาเปรียบ แม้นไป่เรียบเป็นที โจมจู่ยี่ย่ำภพ เสนีนบนึกชอบ ระบอบเบื้องบรรหาร ธก็เอื้อนสารเสาวพจน์ แต่เอารสยศเยศ องค์อิศเรศอุปราช ให้ยกยาตราทัพ กับนครเชียงใหม่ เป็นพยุหใหญ่ห้าแสน ไปเหยียบแดนปราจิน บุตรท่านยินถ้อถ้อย ข้อยผู้ข้าบาทบงสุ์ โหรควรคงทำนาย ทายพระเคราะห์ถึงฆาต ฟังสารราชเอารส ธก็ผะชดบัญชา เจ้าอยุธยามีบุตร ล้วนยงยุทธ์เชี่ยวชาญ หาญหักศึกบมิย่อ ต่อสู้ศึกบมิหยอน ไปพักวอนว่าใช้ ให้ธหวงธห้าม แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา เอาพัสตราสตรี สวมอินทรีย์สร่างเคราะห์ ธตรัสเยาะเยี่ยงขลาด องค์อุปราชยินสาร แสนอัประมาณมาตย์มวล นวลพระพักตร์ผ่องเผือด เลือดสลดหมดคล้ำ ช้ำกมลหมองมัว กลัวพระอาชญายอบ นอบประณตบทมูล ทูลลาไท้ลีลาศ ธก็ประกาศเกณฑ์พล บอกยุบลบ่มิหึง ถึงเชียงใหม่ตระบัด เร่งแจงจัดจตุรงค์ ลงมาสู่หงสา แล้วธให้หาเมืองออก บอกทุกแดนทุกด้าว บอกทุกท้าวทุกเทศ ทั่วทุกเขตทุกขอบ รอบสีมามณฑล ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง ต่างตกแต่งแสะสาร แสนยาหาญมหิมา คลาบรรลุเวียงราช แลสระพราศสระพรั่ง คั่งคับนับเหลือตรา ต่างภาษาต่างเพศ พิเศษสรรพแต่งตน ข้าศึกยลแสยงฤทธิ์ บพิตรธเทียบทัพหลวง โดยกระทรวงพยุบาตร จักยาตราตรู่เช้า เสด็จเข้านิเวศไท้ เกรียมอุระราชไหม้ หม่นเศร้าศรีสลาย อยู่นา

       
/๗ โคลง๒   พระผาดผายสู่ห้อง หาอนุชนวลน้อง
    หนุ่มหน้าพระสนม  
   
/   ปวงประนมนบเกล้า งามเสงี่ยมเฟื้ยมเฝ้า
    อยู่ถ้าทูลสนอง  
   
/   กรตระกองกอดแก้ว เรียมจักร้างรสแคล้ว
    คลาดเคล้าคลาสมร  
   
/๑๐   จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย
    ห่อนช้าคืนสม แม่แล ฯลฯ
   

ร่าย ๑๐/๒๓ เสร็จเสาวนีย์สั่งสนม เนืองบังคมคำราช พระบาททันนิทรา จวนเวลาล่วงสาง พื้นนภางค์เผือดดาว แสงเงินขาวขอบฟ้า แสงทองจ้าจับเมฆ รังสีเฉกฉายฉัน ไก่แก้วขันเจื้อยแจ้ว ดุเหว่าแหว้วเสียงใส จึ่งบรมไทธิราช ยุรยาตรยังที่สรง ชำระองค์บนาน ทรงสุคนธ์ธารกลิ่นตรลบ หอมอวลอบอายขจร ทรงบวรวิภูษิต สนับเพลาพิศพรายพร้อย ชายไหวย้อยยะยาบ ชายแครงทาบเครือวัลย์ รัตพัสตร์พรรณยรรยง ฉลองพระองค์เพริศแพร้ว มกรแก้วเกยูร ตาบไพฑูรย์เรืองจรัส สะอิ้งรัตนประพาฬ สอดสังวาลเฉวียงองค์ มกุฎทรงเทริดเกศ อย่างอิศเรศรามัญ สรรเป็นรูปอุรเคนทร์ เพญพะพานแผ่เศรียร แสงวิเชียรช่อช่วง ธำมรงค์ร่วงรุ้งพราย รายนพรัตน์ชัชวาล เครื่องอลงการโอ่อ่า งามสง่าขัตติเยศ พระแสดงเดชผังผาย กุมแสงกรายกรนาด ยุรยาตรอย่างไกรสร จากศีขรคูหา ลีลายังวังราช ไหว้บัวบาทบิตุรงค์ ขอลาองค์ท่านไท้ ไปเผด็จดัสกรให้ เหือดเสี้ยนศึกสยาม สิ้นนา

       
๑๑/๒๔ โคลง๒   พระฟังความลูกท้าว ลาเสด็จศึกด้าว
    ดั่งเบื้องบรรหาร  
   
๑๒/๒๕ โคลง๓   ภูบาลอื้นอำนวย อวยพระพรเลิศล้น
    จงอยุธย์อย่าพ้น แห่งเงื้อมมือเทอญ พ่อนา
   
๑๓/๒๖ โคลง๔   จงเจริญชเยศด้วย เดชะ
    ชาวอยุธย์อย่าพะ พ่อได้
    จงแพ้พินาศพระ วิริยภาพ พ่อนา
    ชนะแด่สองท่านไท้ ธิราชเจ้าจอมสยาม
   
๑๔/๒๗   สงครามความเศิกซึ้ง แสนกล
    จงพ่ออย่ายินยล แต่ตื้น
    อย่าลองคะนองตน ตาชอบทำนา
    การศึกลึกเล่ห์พื้น ล่อเลี้ยวหลอกหลอน
   
๑๕/๒๘   จงแจ้งแห่งเหตุเบื้อง โบราณ
    เป็นประโยชน์ยุทธการ กล่าวไว้
    เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา
    อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา
   
๑๖/๒๘   หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน
    เจนจิตวิทยาการ กาจแกล้ว
    รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา
    อาจจักรอนรณแผ้ว แผกแพ้พังหนี
   
๑๗/๓๐   หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล
    อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน
    อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ
    แปดประการกลเที้ยร ถ่องแท้ทางแถลง
   
๑๘/๓๑   จงจำคำพ่อไซร้ สั่งสอน
    จงประสิทธิ์สมพร พ่อให้
    จงเรืองพระฤทธิ์รอน อริราช
    จงพ่อลุลาภได้ เผด็จด้าวแดนสยาม
   

ร่าย ๑๙/๓๒ เสด็จสั่งความโอวาท ไท้ธประสาทพระพร แต่ภูธรเอารส ธก็ประณตรับคำ อำลาท้าวลีลาศ ยุรยาตรยังเกยชัย เสนาในเตรียมทัพ สรรพพลห้าสิบหมื่น ขุนคชหื่นหาญแกล้ว ขับช้างแก้วพัทธกอ รอรับราชริมเกย ควาญเคยคัดท้ายเทียบ เสด็จย่างเหยียบหลังสาร ทรงคชาธารยรรยง อลงกตแก้วแกมกาญจน์ เครื่องพุดตานตกแต่ง แข่งสีทองทอเนตร ปักเศวตฉัตรฉานฉาย คลายคชบาทยาตรา คลี่พยุหคลาดแคล้ว คล้ายนายทแกล้ว ย่างเยื้องธงทอง แลนา ฯลฯ

       
๒๐/๔๑ โคลง๒   ถับถึงทวารกรุงแก้ว เดียรดาษพลคลาดแคล้ว
    คล่ำคล้ายคลาขบวน  
   
๒๑/๔๒ โคลง๓   ด่วนเดินโดยโขลนทวาร พวกพลหาญแห่หน้า
    ล้วนทแกล้วทกล้า กลาดกลุ้มเกลื่อนสถล มารคนา ฯลฯ

ตอนที่ ๓ พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี

๒๒/๕๓ โคลง๒ ๏ ยกพลผ่านด่านกว้าง เสียงสนั่นม้าช้าง
  กึกก้องทางหลวง  
   
๒๓/๕๔ ๏ ปวงประนมนบเกล้า งามเสงียมเฟื้ยมเฝ้า
  อยู่ถ้าทูลสนอง  
   
๒๔/๕๕ ๏ ล่วงลุด่านเจดีย์ สามองค์มีแห่งหั้น
  แดนต่อแดนกันนั้น ฯลฯ  
   
๒๕/๗๙ โคลง๔ ๏ มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู
  สถิตอยู่เอ้องค์ดู ละห้อย
  พิศโพ้นพฤกษ์พบู บานเบิก ใจนา
  พลางคะนึงนุชน้อย แน่งเนื้อนวลสงวน ฯลฯ
   
๒๕/๗๙ โคลง๔ ๏ สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤๅ
  เพราะเพื่อมาราญรอน เศิกไสร้
  สละสละสมร เสมอชื่อ ไม้นา
  นึกระกำนามไม้ แม่นแม้นทรวงเรียม ฯลฯ
   
๒๖/๘๘ โคลง๔ ๏ สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
  สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
  กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
  ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด ฯลฯ
   
๒๘/๑๒๗ โคลง๔ ๏ พลมอญเมิลมืดท้อง รัถยา
  อเนกนิกรอาชา ชาติช้าง
  ทวนทองเถือกทอตา เปลือยปลาบ
  เทียวธวัชแลสล้าง เฟื่องฟ้าปลิวปลาย
   

ร่าย ๒๙/๑๒๘ ฝ่ายนครกาญจน จัดพลพวกด่าน ผ่านไปสืบเอาเหตุ ในขอบเขตรามัญ เขาก็พากันรีบรัด ลัดเล็ดลอดเลาะดง ตรงไปทางแม่กษัตริย์ จัดกันซุ่มเป็นกอง มองเอาเหตุเอาผล ยลนิกรรามัญ เดินแน่นนันต์นองเถื่อน เกลื่อนมาทั่วออกทิศ หวันก่อกิจดัสกร แก่พระนครตระหนัก เห็นฉัตรปักห้าชั้น กั้นบนเบื้องหลังสาร เขาก็ทราบการโดยขนาด ว่าอุปราชขุนทัพ เร็วรีบกลับมาบอก แดออกญาผ่านเผ้า เจ้านครกาญจนบุริน ยินยุบลข่าวศึก พิลึกลาญขวัญ แหลกแสกกมลทะท้าว ร้าวอุระขุนเมือง เคืองใจราษฎร์ทุกผู้ รู้ตรลอดไพร่นาย เขาทั้งหลายตริกัน ขวัญเกี่ยงกินเผือนเผือด เลือดสลดหมดหน้า บเห็นถ้าต่อรบ รู้ว่าทบบมิทาน รู้ว่าราญบมิรอด คิดเททอดครัวแตก แหกหนีหน้าอย่าพะ เขามละบ้านเมือง เปลืองเปล่าผู้หมู่ชน ชวนกันซนกันซุก บุกป่าดงป่าแดง แฝงเอาเหตุเอาผล ยลกระแหน่เศิกไสร้ เพื่อลงลักษณะให้ ส่งท้าวแถลงความ ท่านนา

     
๓๐/๑๒๙ ๏ ชาวสยามคร้ามเศิกสิ้น ทั้งผอง
  นายและไพร่ไป่ปอง รบร้า
  อพยพหลบหลีกมอง เอาเหตุ
  ซุกซ่อนห่อนให้ข้า ศึกได้ไปเป็น
   

ร่าย ๓๑/๑๓๑ ส่วนนเรนทรสมญา มหาอุปราชรามัญ ธก็ให้ผันพลผ้าย ย้ายมาโดยทางเถื่อน ทัพหน้าเคลื่อนพลเดิม ลุลำกระเพินบมิหึง จึ่งพระยาจิดตอง ให้พลกรองเวฬู ปูเป็นสะพานผ่านชล เร่งเดินพลข้ามฟาก มากนิกรคั่งคาม พวกชาวสยามเห็นตระหนัก จึ่งลงลักษณ์สารสื่อ ใส่ชื่อทั่วตัวขุน ถ้วนทุกมุลทุกนาย แดออกญามหาด ทูลบัวบาทมหิบาล เขาก็รับสารขึ้นม้า รับมาเร็วฤๅช้า บอกข้อเข็ญความ ท่านนา

     
๓๒/๑๓๑ โคลง๒ ๏ กองทัพตามกันเต้า เสียงสนั่นลั่นเท้า
  พ่างพื้นไพรพัง เพิกฤๅ  
   
๓๓/๑๓๒ โคลง๔ ๏ ดลยังเวียงด่านด้าว โดยมี
  เมืองชื่อกาญจนบุรี ว่างว้าง
  ผู้ใดบ่ออกตี ตอยต่อทัพนา
  ยลแต่เหย้าเรือนร้าง อยู่ไร้ใครแรม
   
๓๔/๑๓๓ ๏ สอดแนมจักจับถ้อย ไถ่ความ
  ฤๅบ่ได้ชาวสยาม สักผู้
  จักสืบจักเสาะถาม เหตุห่อน รู้แฮ
  รู้ว่าชาวเมืองรู้ เล่ห์แล้วหลีกหนี
   
๓๕/๑๓๔ ๏ ธก็กรีธาทัพเข้า เนาเมือง
  ประทับอยู่แรมคืนเคือง สวาทไหม้
  คำนึงนุชไป่เปลือง จิตท่าน ถวิลนา
  เจ็บอุระราชไข้ ขุนแค้นคับทรวง
   
๓๖/๑๓๕ ๏ ระลวงรำลึกอ้า บังอร
  ยลแต่แสงศศิธร ถ่องฟ้า
  แสงจันทร์บ่ส่องสมร หมดเทวษ
  ถวิลบ่ลืมนวลหน้า แม่แม้นนวลจันทร์ ฯลฯ
   
๓๗/๑๔๐ ๏ พระฝืนทุกข์เทวษกล้ำ แกล่ครวญ
  ขับคชบทจรจวน จักเพล้
  บรรลุพนมทวน เถื่อนที่ นั้นนา
  เหตุอนาถหนักเอ้ อาจให้ชนเห็น
   
๓๘/๑๔๑ ๏ เกิดเป็นหมอกมืดห้อง เวหา หนเฮย
  ลมชื่อเวรัมภา พัดคลุ้ม
  หวนหอบหักฉัตรา คชขาด ลงแฮ
  แลธุลีกลัดกลุ้ม เกลื่อนเพี้ยงจักรผัน
   
๓๙/๑๔๒ ๏ พระพลันเห็นเหตุไซร้ เสียงดวง แดเฮย
  ถนัดดั่งภูผาหลวง ตกต้อง
  กระหม่ากระเหม่นทรวง สั่นซีด พักตร์นา
  หนักหฤทัยท่านร้อง เรียกให้โหรทาย
   
๔๐/๑๔๓ ๏ ทั้งหลายล้วนจบแจ้ง เจนไสย ศาสตร์แฮ
  เห็นตระหนักแน่ใน เหตุห้าว
  จักทูลบ่ทูลไท เกรงโทษ ท่านนา
  เสนอแต่ดีกลบร้าว เผด็จเสี้ยนศึกสยาม
   
๔๑/๑๔๔ ๏ เหตุนี้ผิวเช้าชั่ว ฉุกเข็ญ
  เกิดเมื่อยามเย็นดี ดอกไท้
  อย่าขุนอย่าลำเค็ญ ใจเจ็บ พระเอย
  พระจักลุลาภได้ เผด็จเสี้ยนศึกสยาม ฯลฯ
   
๔๒/๑๔๗ ๏ ครั้นฟังบพิตรเพี้ยง ฟังหู หนึ่งนา
  หูหนึ่งแหนงคำสู ซึ่งพร้อง
  ไป่ไว้หฤทัยภู- ธรพรั่น อยู่นา
  นึกเร่งกริ่งเกรงต้อง แต่แพ้ดัสกร ฯลฯ
   
๔๓/๑๕๐ ๏ สระเทินสระทกแท้ ไทถวิล อยู่เฮย
  ฤๅใคร่คลายใจจินต์ จืดสร้อย
  คำนึงนฤบดินทร์ บิตุเรศ พระแฮ
  พระเร่งลานละห้อย เทวษไห้โหยหา
   
๔๔/๑๕๑ ๏ อ้าจอมจักรพรรดิผู้ เพ็ญยศ
  แม้พระเสียเอารส แก่เสี้ยน
  จักเจ็บอุระระทด ทุกข์ใหญ่ หลวงนา
  ถนัดดั่งพาหาเหี้ยน หั่นกลิ้งไกลองค์
   
๔๕/๑๕๒ ๏ ณรงค์นเรศวร์ด้าว ดัสกร
  ใครจักอาจออกรอน รบสู้
  เสียดายแผ่นดินมอญ พลันมอด ม้วยแฮ
  เหตุบ่มีมือผู้- อื่นต้านทานเข็ญ
   
๔๖/๑๕๓ ๏ เอ็นดูภูธเรศเจ้า จอมถวัลย์
  เปลี่ยวอุระราชรัน- ทดแท้
  พระชนม์ชราครัน ครองภพ พระเอย
  เกรงบพิตรจักแพ้ เพลี่ยงพล้ำศึกสยาม
   
๔๗/๑๕๔ โคลง๔ ๏ สงครามครานี้หนัก ใจเจ็บ ใจนา
  เรียมเร่งแหนงหนาวเหน็บ อกโอ้
  ลูกตายฤใครเก็บ ผีฝาก พระเอย
  ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา
   
๔๘/๑๕๕ ๏ พระเนานัคเรศอ้า เอองค์
  ฤๅบ่มีใครคง คู่ร้อน
  จักริจักเริ่มรงค์ ฤๅลุ แล้วแฮ
  พระจักขุ่นจักข้อน จักแค้นคับทรวง
   
๔๙/๑๕๖ ๏ พระคุณตวงเพียบพื้น ภูวดล
  เต็มตรลอดแหล่งบน บ่อนใต้
  พระเกิดพระก่อชนม์ ชุบชีพ มานา
  เกรงบ่ทันลูกได้ กลับเต้าตอบสนอง ฯลฯ

ร่าย ๕๐/๑๕๘ เมื่อนั้นเจ้าธานินทร์ บุรินทรศักดิ์สีมา ทุกบุราราชอาณาเขต ประเทศนครสิงห์สรรค์ ศรีสุพรรณทุกภาย เขาก็ขยายครัวครอก ซอกไปซ่อนไปซุก บุกป่าแดงป่าดง แล้วก็ลงลักษณ์ข่าวสาร ส่งอาการเหตุห้าว มาบังคมทูลท้าว ธิราชผู้ผ่านถวัลย์ แลนา

ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร

12ส.ค.
๕๑/๑๕๙ โคลง๔ ๏ ปางนั้นนฤเบศเบื้อง บูรพา ภพแฮ
  เฉลิมพิภพอโยธยา ยิ่งผู้
  พระเดชดั่งรามรา- ฆพเข่น เข็ญเฮย
  ออกอเรนทร์รั่วรู้ เร่งร้าวราญสมร
   
๕๒/๑๖๐ ๏ ภูธรสถิตท้อง โรงธาร ท่านฤๅ
  เถลิงภิมุขพิมาน มาศแต้ม
  มนตรีชุลีกราน กราบแน่น เนืองนา
  บัดบดีศวรแย้ม โอษฐ์เอื้อนปราศรัย
   
๕๓/๑๖๑ ๏ ไต่ถามถึงทุกข์ถ้อย ทวยชน
  ต่างสนองเสนอกล แก่ท้าว
  พระดัดคดีผล ใดเยี่ยง ยุกดิ์นา
  เย็นอุระฤๅร้าว ราษฎร์ร้อนห่อนมี
   
๕๔/๑๖๒ โคลง๔ ๏ นฤบดีดำรัสด้วย การยุทธ์
  ซึ่งจักยอกัมพุช แผ่นโพ้น
  พลบกยกเอาอุต- ดมโชค ชัยนา
  นับดฤษถีนี้โน้น แน่นั้นวันเมือ
   
๕๕/๑๖๓ โคลง๔ ๏ พลเรือพลรบท้อง ทางชลา
  เกณฑ์แต่พลพารา ปักษ์ใต้
  ไปตีพุทไธธา- นีมาศ เมืองเฮย
  ตีป่าสักเสร็จให้ เร่งล้อมขอมหลวง
   
๕๖/๑๖๔ โคลง๔ ๏ พระห่วงแต่เสี้ยน อัสดง
  เกรงกระลับก่อรงค์ รั่วหล้า
  คือใครจักคุมคง ควรคู่ เข็ญแฮ
  อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึง
   
๕๗/๑๖๕ โคลง๔ ๏ พระพึงพิเคราะห์ผู้ ภักดี ท่านนา
  คือพระยาจักรี กาจแกล้ว
  พระตรัสแด่มนตรี มอบมิ่ง เมืองเฮย
  กูจักไกลกรุงแก้ว เกลือกช้าคลาคืน
   
๕๘/๑๖๖ ๏ เยียวพื้นภพแผ่นด้าว ตกไถง
  ริพิบัติพูนภัย เพิ่มพ้อง
  สูกันนครใจ ครอเคร่า กูเฮย
  กูจักพลันคืนป้อง ปกหล้าแหล่งสยาม
   
๕๙/๑๖๗ ๏ สงครามพึ่งแผกแพ้ เสียที
  แตกเมื่อต้นปีไป ห่อนช้า
  บร้างกระลับมี มาขวบ นี้เลย
  มีก็มีปีหน้า แน่แท้กูทาย
   
๖๐/๑๖๘ ๏ ทั้งหลายสดับถ้อยท่าน บรรหาร หนเฮย
  ยังบ่เยื้อนสนองสาร ใส่เกล้า
  บัดทูตนครกาญ- จนถับ ถึงแฮ
  พระยาอามาตย์นำเฝ้า บอกเบื้องเคืองเข็ญ ฯลฯ
   
๖๑/๑๗๐ โคลง๒ ๏ พระเปรมปราโมทย์ไซร้ ซึ่งบดินทร์ดาลได้
  สดับเบื้องบอกรงค์  
   
๖๒/๑๗๑ ๏ ธให้หาองค์น้องท้าว แถลงยุบลเหตุห้าว
  ท่านแจ้งทุกอัน แลนา  

ร่าย ๖๓/๑๗๒ แล้วธบรรหารตระบัด ว่าเราจัดจตุรงค์ จะไปยงยอยุทธ์ ยังกัมพุชพารา ศึกมอญมาชิงควัน กันบให้ไปออก บอกให้เต้าโดยตก ควรจักยกไปยุทธ์ เป็นมหุสสวมหันต์ ปันเอาชัยชิงชื่น แล้วธก็อื้นออกพจน์ พระราชกฎประกาศ แก่เมืองราชบุรี เกณฑ์โยธีห้าร้อย คะค้อยไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดิน ผ่านลำกระเพินโดยสะพาน เพ่งพลหาญเห็นเสร็จ ให้ระเห็จเข้าหั่น บั่นเรือกขาดเป็นท่อน ค่อนพวนขาดเป็นทุ่น เถกิงกรานกรุ่นพลวกเผา อย่าให้เขาจับได้ เขากระดั่งไท้ ธิราชเอื้อนโองการ สั่งนา

๖๔/๑๗๓ โคลง๔

นฤบาลสารเสร็จอ้าง ไป่ทัน หึงแฮ

ถับทูตทุกเขตขัณฑ์ ด่านด้าว

สิงห์สรรค์สุพรรณบรร- ลุถิ่น ท่านนา

เขาเร่งนำเฝ้าท้าว ถั่งถ้อยแถลงทูล

๖๕/๑๗๔

บดีศูรสั่งให้อ่าน สารา

พระราชรับบัญชา ท่านไซร้

แถลงลักษณะทุกธา- นีบอก มานา

เสนอยุบลข่าวใกล้ ศึกตั้งในแดน

๖๖/๑๗๕

บัดมอญแล่นม้าลาด เลยแขวง

วิเศษชัยชาญแสดง ข่าวซ้ำ

เขานำอักษรแถลง ถวายดับ นั้นนา

พระเร่งชื่นฤๅช้ำ ที่ข้อเข็ญความ

๖๘/๑๗๗

จอมสยามขามศึกไซร้ ไป่มี

บานกลเปรมปรีดิ์ ปราบเสี้ยน

สองสุริยกษัตริย์ ตรัสต่อ กันแฮ

หาเลศมลายศึกเหี้ยน หั่นห้าวหายคม

๖๙/๑๗๘

สมเด็จเผยโอษฐ์อื้น ปรึกษา

แด่ภิมุขมาตยา ทั่วผู้

จักโรมอริรา- มัญเมื่อ นี้แฮ

รับที่ถิ่นฤๅสู้ นอกไซร้ไหนควร

๖๗/๑๗๖

ทั้งมวลหมู่มาตย์ซ้อง สารพลัน

ทูลพระจอมจรรโลง เลื่องหล้า

แถลงลักษณะปางบรรพ์ มาเทียบ ถวายแฮ

แนะที่ควรเสด็จค้า เศิกไซร้ไกลกรุง

ฯลฯ

๗๐/๑๘๐

โทไท้ทรงสดับถ้อย ทูลถวาย

ถูกหฤทัยท่านผาย โอษฐ์พร้อง

สูตริก็ตรงหมาย เหมือนตริ ตูนา

ตริบ่ต่างกันต้อง ต่อน้ำใจตู

๗๑/๑๘๑

ภูธรสั่งให้เทียบ โยธี ทัพแฮ

ห้าหมื่นหมายบัญชี เรียกได้

เกณฑ์เมืองจัตวาตรี ไตรตรวจ เอานา

ยี่สิบสามเมืองใต้ เตรียบตั้งต่อฉาน

๗๒/๑๘๒

บรรหารให้จัดผู้ อาจอง

เอาพระศรีไสยณรงค์ ฤทธิ์ห้าว

เป็นจอมพยุหยง ไปยั่ว ยุทธแฮ

นำนิกรทัพท้าว ออกร้ารอนเข็ญ

๗๓/๑๘๓

พระเห็นจักเปลี่ยวข้าง ขุนพล

เยียวบ่มีเพื่อนผจญ จึ่งใช้

พระราชฤทธานนท์ หนึ่งช่วย กันนา

เป็นปลัดทัพให้ ศึกสู้ทั้งสอง

๗๔/๑๘๔

กองหน้านฤนาทตั้ง เสร็จสาร สั่งแฮ

เร็วเร่งห้ำหั่นหาญ หักกล้า

บ่แตกต้านทาน มันรอด ไซร้ฤๅ

กูจักออกโรมร้า ศึกร้ายภายหลัง

๗๕/๑๘๕

ทั้งสองรับถ้อยท่าน ทูลลา แลเฮย

ยกพยุหแสนยา ย่างย้าย

โดนแดนทุกราธวา วายถิ่น

ถึงนี่หนองสาหร่ายท้าย ทุ่งกว้างทางหลวง

๗๖/๑๘๖

ปวงทัพปลูกค่ายสร้าง กลางสมร

ภูมิพยุหไกรสร ศึกตั้ง

เสนาพลากร ต่างรื่น เริงแฮ

คอยจักยอยุทธ์ยั้ง อยู่ถ้าทางเข็ญ

ร่าย ๗๗/๑๘๗ กษณะนั้นนเรนทร์ไท้ ธให้โหรหามมหุติฤกษ์ ซึ่งจะเบิกพยุหบาตรา จึ่งพระโหราผู้รู้โศลก หลวงญาณโยคโลกทีป รีบคำนวณทำนาย ถวายพยากรณ์แก่ไท้ ท้าวธได้จัตุรงคโชค อาจปราบโลกลาญรงค์ เชิญบาทบงสุ์เสด็จคลา จากอโยธยายามเช้า เข้ารวิวารมหันต์ วันสิบเอ็ดขึ้นค่ำย่ำรุ่งสองนาฬิกา เศษสังขยาห้าบาท ในบุษยมาสดฤษถี ศรีสวัสดิ์ฤกษ์อุดม บรมนรินทร์ดาลสดับ ธให้ตรวจทัพเตรียมพล โดยชลมารคพยู่ห์ สู่ตำบลปากโมก ครั้นณวันโชควันยาม พยุหสงครามเขาตรวจ ทุกหมู่หมวดสรรพเสร็จ จึ่งสมเด็จภูวนาถ กับบรมราชอนุชา ธก็สรงธาราเสาวรภย์ ตรลบสุคนธกำจร ทรงบวรวิภูษา รัตพัสตราครูเนตร ชายแครงเทศเถือกพร้อย ชายไหวห้อยเห็นเพรา พิศสนับพลายรรยง ฉลองพระองค์แลเลิศ ทับทรวงเพริศพรายพริ้ง สะอิ้งรัตนไพฑูรย์ แก้วเกยูรสวมหัตถ์ แสงนพรัตน์มลังเมลือง เรืองธำมรงค์รุ้งร่วง ช่วงพรรเหาเก้าแก้ว แพร้วพรายนิ้วอัษฎางค์ พลางสองกษัตริย์สวมทรง อลงกตกาญจนมกุฎ แสงเพชรผุดพุ่งแพร้ว แก้เก้ากอบแกมมาศ นาดกรกรายทายธนู ดูสองเจ้าจอมสยาม เฉกลักษณ์รามรอนราพณ์ ปราบอเรนทร์ทุกด้าว พลางบพิตรไทท้าว ท่านเยื้องยังฉนวน น้ำนา

ฯลฯ

๗๘/๑๙๗ โคลง๔

ครั้นควรพิชัยฤกษ์พร้อม เพรียงสมัย

โหรคระหึมฆ้องชัย กึกก้อง

พฤฒิพราหมณ์พรอกมนตร์ไสย สังข์เป่า ถวายนา

แตรตรลบเสียงซ้อง แซ่ซั้นบรรสาน

ฯลฯ

ร่าย ๗๙/๒๐๐ พลันขยายพยุหบาตรา คลาเข้าโขลนทวาเรศ สงฆ์สวดชเยศพุทธมนต์ ปรายประชลเฉลิมทัพ ตามตำรับราชรณยุทธ์

โบกกบี่ธุชคลาพล ยลนาวาดาดาษ ดูสระพราศสระพรั่ง คั่งคับขอบคงคา แลมเหาฬาร์พันลึก อธึกท้องแถวธาร ถับถึงสถานปากโมก จึ่งพระจอมโลกลือเดช เสด็จเถลิงนิเวศวังทาง พลางธให้ตรวจเตรียมพล โดยสถลพยุหบาตร บอกพระราชกำหนด กฎแก่ขุนทัพขุนพล จักยกหพลยาตรา ในเวลาล่วงค่ำ ย่ำสิบเอ็ดสามบาท ครั้นเข้าราษตรีสมัย ภูวไนยตรัสตริการ ซึ่งจะรอนราญอริราช ด้วยภิมุขมาตยากร จนจันทรลับเลื่อน เคลื่อนเข้าตติยยาม เจ้าจอมสยามไสยาสน์ เหนือบรมอาสน์ก่องแก้ว คล้ายคล้ายสิบทุ่มแคล้ว ท่านเคลิ้มหลับฝัน ใฝ่นา

๘๐/๒๐๑ โคลง๔

เทวัญแสดงเหตุให้ สังหรณ์ เห็นแฮ เห็นกระแสสาคร หลั่งล้น ไหลลบวนาดอน แดนตก ทิศนา พระแต่เพ่งฤๅพ้น ที่น้ำหนองสาย

๘๑/๒๐๒

พระกรายกรย่างเยื้อง จรลี ลุยมหาวารี เรี่ยวกว้าง พอพานพะกุมภีล์ หนึ่งใหญ่ ไสร้นา โถมปะทะเจ้าช้าง จักเคี้ยวขบองค์

๘๒/๒๐๓

พระทรงแสงดาบแก้ว กับกร โจมประจักฟันฟอน เฟื่องน้ำ ต่างฤทธิ์ต่างรบรอบ ราญชีพ กันแฮ สระท้านทุกถิ่นท่าถ้ำ ท่งท้องชลธี

๘๓/๒๐๔

นฤบดีโถมถีบสู้ ศึกธาร ฟอนฟาดสุงสุมาร มอดม้วย สายสินธุ์ซึ่งนองพนานต์ หายเหือด แห้งแฮ พระเร่งปรีดาด้วย เผด็จเสี้ยนเศิกกษัย

๘๔/๒๐๕

ทันใดดิลกเจ้า จอมถวัลย์ สร่างผทมถวิลฝัน ห่อนรู้ พระหาพระโหรพลัน พลางบอก ฝันนา เร็วเร่งทายโดยกระทู้ ที่ถ้อยตูแถลง

๘๕/๒๐๖

พระโหรเห็นแจ้งจบ ในมูล ฝันแฮ ถวายพยากรณ์ทูล แต่ไท้ สุบินบดินทร์สูร ฝันใฝ่ นั้นฤๅ หากเทพสังหรณ์ให้ ธิราชรู้เป็นกล

๘๖/๒๐๗

นุสนธิ์ซึ่งน่านน้ำ นองพนา สณฑ์เฮย หนปัจฉิมทิศา ท่วมไซร้ คือทัพอริรา- มัญหมู่ นี้นา สมดั่งลักษณ์ฝันไท้ ธเรศนั้นอย่าแหนง

๘๗/๒๐๘

เหตุแสดงแห่งราชพ้อง ภัยชลา ได้แก่อุปราชา เชษฐ์ผู้ สงครามซึ่งเสด็จครา นี้ใหญ่ หลวงแฮ แท้จักถึงยุทธ์สู้ ศึกช้างสองชน

๘๘/๒๐๙

ซึ่งผจญอริราชด้วย เดชะ เพื่อพระเดโชชนะ ศึกน้ำ คือองค์อมิตรพระ จักมอด เมือเฮย เพราะพระหัตถ์หากห้ำ หั่นด้วยขอคม

๘๙/๒๑๐

เบื้องบรมขัตติย์ท่องท้อง แถวธาร พระจักไล่ลุยลาญ เศิกไสร้ ริปูบ่รอราญ ฤทธิ์ราช เลยพ่อ พระจักชาญชเยศได้ ดั่งท้าวใฝ่ฝัน

๙๐/๒๑๑ โคลง๒

ครั้นบดินทร์ดาลได้ สดับพยากรณ์ไท้ ธิราชแผ้วพูนเกษม

๙๑/๒๑๒

เปรมปรีดิ์ปราโมทย์แท้ เพราะพระโหรหากแก้ กล่าวต้องตามฝัน

๙๒/๒๑๓

พระพลันทรงเครื่องต้น งามประเสริฐเลิศล้น แหล่งหล้าควรชม ชื่นนา

๙๓/๒๑๔

สมเด็จอนุชน้องแก้ว ทรงสุภาภรณ์แพร้ว เพริศพร้อมเพราตา ยิ่งแฮ

ร่าย ๙๔/๒๑๕ สองขัติยายุรยาตรา ยังเกยราชหอทัพ ขุนคชขับช้างเทียบ ทวยหาญเพียบแผ่นภู ดูมหิมาดาดาษ สระพราศพร้อมโดยขบวน องค์อดิศวรสอง

กษัตริย์ คอยนฤขัตรพิชัย บัดเดี๋ยวไททฤษฎี พระศรีสารีริกบรมธาตุ ไขโอภาสโศภิต ช่วงชวลิตพ่างยล ส้มเกลี้ยงกลลุก่อง ฟ่องฟ้าฝ่ายทักษิณ ผินแวดวงตรงทัพ นับ คำรบสามครา เป็นทักษิณาวรรตเวียน ว่ายฉวัดเฉวียนอัมพร ผ่านไปอุดรโดยด้าว พลางบพิตรโทท้าว ท่านตั้งสดุดี อยู่นา

ฯลฯ

๙๕/๒๑๘ โคลง๔

พระเปรมปราโมทย์น้อม วันทนา พลางพระทรงไอยรา ฤทธิ์แกล้ว พระคเชนทร์ชื่อไชยา- นุภาพ พ้นแฮ อาจเข่นคชศึกแผ้ว แผกแพ้ทุกภาย

๙๖/๒๑๙

พลายปราบไตรจักรอ้าง เอิกฤทธิ์ อาจปราบคชทุกทิศ ทั่วไซร้ เอกาทศรถอิศ- วรเสด็จ ทรงนา นำคเชนทเรศไท้ ธิราชเจ้าจอมสยาม ฯลฯ

ร่าย ๙๗/๒๒๘ ฝ่ายกองตระเวนรามัญ อันขุนศึกธใช้ ให้เอาม้ามาลาด คอยข่าวราชริปู ดูทัพชาวพระนคร จักออกรอนออกรบ จักออกทบออกทาน เอากาการมาบอก แม้บออกต่อติด จักประชิดเมืองถึง จึงสมิงอะคร้านขุนกอง รองสมิงเป่อปลัดทัพ กับสมิงซายม่วน ทั้งสามด่วนเดินพล พวกพหลหมู่ม้า ห้าร้อยมามองความ ยลสยามยาตราทัพ อยู่ท่ารับรายค่าย ขอบหนองสหร่ายเรียบพยูห์ ดูกองหน้ากองหลวง แลทั้งปวงทราบเสร็จ เร็วระเห็จไปทูล แด่นเรศรอุปราช ครั้นพระบาทได้สดับ ธ ก็ทราบสรรพโดยควร ว่านเรศวรกษัตรา กับเอกาทศรุถ ยกมาแย่งรงค์ แล้วพระองค์ตรัสถาม สามสมิงนายกอง ถ้าจักประมาณพลไกร สักเท่าใดดูตระหนัก ตรัสซ้ำซักเขาสนอง ว่าพลผองทั้งเสร็จ ประมาณสิบเจ็ดสิบแปดหมื่น ดูดาษดื่นท่งกว้าง ครั้นเจ้าช้างทรงสดับ ธก็ตรัสแก่ขุนทัพขุนกอง ว่าซึ่งสองกษัตริย์กล้า ออกมาถ้ารอรับ เป็นพยุหทัพใหญ่ยง คงเขาน้อยกว่าเรา มากกว่าเขาหลายส่วน จำเราด่วนจู่โจม โหมหักเอาแต่แรก ตีให้แยกย่นย่อย ค่อยเบาแรงเบามือ เร็วเร่งฮือเข้าห้อม ล้อมกรุงเทพทวารัติ ชิงเอาฉัตรตัดเข็ญ เห็นได้เวียงโดยสะดวก แล้วธสั่งพวกขุนพล เทียบพหลทุกทัพ สรรพแต่ยามเสร็จ ตีสิบเอ็ดนาฬิกา จักยาตราทัพขันธ์ กันเอารุ่งไว้หน้า เร็วเร่งจัดอย่าช้า พรุ่งนี้เช้าเราตี เทอญนา

     
๙๘/๒๖๘ โคลง๔ ๏ เสนีรับถ้อยท่าน ทุกตน
  ต่างเร่งตรวจเตรียมพล ทุกผู้
  พลหาญหื่นหนรณ เริงร่าน อยู่แฮ
  คอยจักขับเคี่ยวสู้ เข่นเสี้ยนศึกสยาม
   
๙๙/๒๓๐ ๏ ครั้นยามสิบเอ็ดแล้ว เวลา ลุเอย
  องค์อัครอุปราชา หน่อไท้
  โสรจสรงรสธารา รวยรื่น ฉมนา
  เฉลิมวิเลปน์ลูบไล้ เฟื่องฟุ้งเสาวคนธ์ ฯลฯ
   
๑๐๐/๒๓๘ ๏ ภูเบนทร์บ่ายบาทขึ้น เกยหอ
  ขี่คชชื่อพัทธกอ กาจกล้า
  บ่เข็ดบ่ขามขอ เขาเงือด เงื้อแฮ
  มันตกติดหลังหน้า เสือกเสื้องส่ายเสย ฯลฯ

ร่าย ๑๐๑/๒๖๗ ส่วนพระยาศรีไสยณรงค์ สองขุนคงควบทัพ กับพระราชฤทธานนท์ ทราบอนุสนธิสั่งไท้ ธให้ยาตรยกโยธี ออกโจมตีตัดศึก แต่ยามดึกเดินพล เร่งขวายขวนเตรียมทัพ สรรพห้าหมื่นโดยมี ตนพระยาศรีขี่คช ปรากฏชื่อมาตงค์ พลายสุรงคเดชะ เมืองสิงหะปีกขวา ออกญาสรรค์ปีกซ้าย เห็จคชผ้ายทุกมูล ขุนผู้คู่กำกับ เป็นทัพหลั่งพรั่งพฤนท์ ขี่คชินทรพาหะ นามชนะจำบัง รังปีกป้องกองขวา พระยาวิเศษชัยชาญ ขุนหาญปีกอุดร เจ้านครชัยนาท กองหน้าอาจโจมประจัญ ให้พระยาสุพรรณผ้ายพยู่ห์ ผู้ปีกซ้ายเมืองธน ทัพเมืองนนท์ปีกขวา ตรีเสนาเก้ากอง ลำลองเหล่าอาสา ส่ำศาสตราครบมือ ถือกระลับกระลอก หอกดาบปืนและสาร แสนยาหาญแน่นขนัด รัดเร่งเท้าเร่งเทา โดยลำเนาลำดับ ถับถึงโคกเผาเข้า พอยามเช้ายังสาย หมายประมาณโมงครบ ประทบทัพรามัญ ประทันทัพพม่า ขับทวยกล้าเข้าแทง ขับทวยแขงเข้าฟัน สองฝ่ายยันยืนยุทธ์ อุดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงโห่เอาชัย สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกชักคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบัน เงื้อดาบฟันฉะฉาด ง่าง้าวฟาดฉะฉับ ขับปีกซ้ายเข้าดา ขับปีกขวาเข้าแดก แยกกันออกโรมรัน ปักกันออกโรมรณ ทนสู้ศึกบ่มิลด อดสู้ศึกบ่มิลาด อาจต่ออาจเข้ารุก อุกต่ออุกเข้าร่า กล้าต่อกล้าชิงบั่น กลั่นต่อกลั่นชิงรอน ศรต่อศรยิงยืน ปืนต่อปืนยิงยัน กุทัณฑ์ต่างตอบโต้ โล่ต่อโล่ต่อตั้ง ดั้งต่อดั้งต่อติด เขนประชิดเขนสู้ ต่าวคู่คู่ต่าวต่อ หอกหันร่อหอกรับ ง้าวง่าจับง้าวประจัญ ทวนผัดผันทวนทบ รบอลวนอลเวง ต่างบเกรงบกลัว ตัวต่อตัวชิงมล้าง ช้างต่อช้างชิงชน คนต่อคนต่อรบ ของ้าวทบทะกัน ต่างฟันต่างป้องปัด วางเสนัดหลังสาร ขานเสียงศึกกึกก้อง ว่องต่อว่องชิงชัย ไวต่อไวชิงชนะ ม้าไทยพะม้ามอญ ต่างเข้ารอนเข้าโหม ทวนแทงโถมทวนทบ หอกเข้ารบรอหอก หลอกล่อไขว่แคล้ว แย้งธนูเหนี่ยวน้าว ห้าวต่อห้าวหักหาญ ชาญต่อชาญหักเชี่ยว เรี่ยวต่อเรี่ยวหักแรง แขนต่อแขนหักฤทธิ์ ต่างประชิดฟอนฟัน ต่างประชันฟอนฟาด ล้วนสามารถมือทัด ล้วนสมรรถมือทาน ผลาญกันกันลงเต็มหล้า ผร้ากันลงเต็มแหล่ง แบ่งกันตายลงครัน ปันกันตายลงมาก ตากเต็มท่งเต็มเถื่อน ตากเต็มเผื่อนเต็มพง ที่ยังคงบมิยู่ ที่ยังอยู่บมิหย่อน ต่างต่อกรฮึดฮือ ต่างต่อมือฮึกฮัก หนักหนุนแน่นมาหนา ดาหนุนแน่นมาดาษ บ่รู้ขยาดย่อทัพ บ่รู้ขยับย่อศึก คะศึกเข้าต่อแกล้ว คะแคล้วเข้าต่อกล้า ต่างชิงฆ่าชิงหั่น ต่างชิงบั่นชิงฟัน ปันกันยิงกันแผลง ปันกันแทงกันพุ่ง ยอยุทธ์ยุ่งบ่มิแตก แยกยุทธ์แย้งบ่มิพัง ทวยหน้าหลังต้อนผ้าย ทวยขวาซ้ายต้อนพล เข้าผจญจู่โจม โหมหักหาญราญรบ ต่างท่าวทบระนับ ต่างท่าวทับระนาด บ้างตนขาดหัวหวิ้น บ้างขาดิ้นแขกเด็ด บอยากกระหนาบหน้าหลัง ไทยประนังน้อยแง่ แผออกรลบมิรอด ถอดถอยท้อรอรับ มอญขยับยกตาม หลากเหลือล้นพลเต้า เสียงปืนตึงตื่นเร้า เร่งครื้นเครงครึก อยู่นา

     
๑๐๒/๒๖๘ โคลง๒ ๏ พันลึกล่มลั่นฟ้า เฉกอสุนีผ่าหล้า
  แหล่งเพี้ยงพก แลนา  
   
๑๐๓/๒๖๙ ๏ ดังตรลบโลกแล้ ฤๅบ่ร้างรู้แพ้
  ชนะผู้ใดดาล ฉงนนา  
   
๑๐๔/๒๗๐ ๏ สองฝ่ายหาญใช่ช้า คือสีหสู้สีหกล้า
  ต่อแกล้วในกลาง สมรนา  

๑๐๕/๒๗๑ โคลง๔

ปางอุภัยภูเบศเบื้อง บูรพ์ถวัลย ราชย์แฮ

เรียบพิริยพลพรรค์ พรั่งพร้อม

เจียนจวบรวิวรรณ ร่างเรื่อ แลฤๅ

ทวยทิชากรน้อม นอบนิ้วเสนอทูล

ฯลฯ

๑๐๖/๒๗๒

เชิญไท้ยูรยาตรเต้า เตียงสนาน

ถวายมุทธาภิสิตธาร เพรียกพร้อง

ศิวเวทวิษณุบรรสาน สังข์โสรจ สรงแฮ

มหรทึกครึกเครงก้อง เกริกหล้าหวั่นไหว

ฯลฯ

ร่าย ๑๐๗/๒๗๗ ฝ่ายชีพ่อทวิชาชาติ ราชปุริโสดม พรหมพิทยาจารย์ เบิกโขลนทวารโดยกระทรวง ปวงละว้าเช่นไก่ ไขว่สรวงพลีผีสาง พลางธส่งแสงอาชญา แต่หลวงมหาวิชัย ใจทระนงองอาจ ยาตรตัดไม้ข่มนาม ตามตำรับไสยเพท บัดนฤเบศทรงสดับ เสียงปืนทัพแย้งยุทธ์ สุดอำเภอเลอไสต โปรดโองการธใช้ ให้หมื่นทิพเสนา เห็จอาชาเร็วรีบ ถีบไปสืบเอาการ เขารับสารขึ้นม้า ควบบช้าบหึง ถึงที่ทวยพลทัพ รับพลางถอยพลางล่ามอญพม่าตามติด ประชิดไล่อลวน ผจญรับอลหม่าน ผ่านท้องท่งท้องนา ดามาโดยแดนผลู ดูคะคลาคะคล่ำ บ่รู้กี่ส่ำสับสน เขาเอาตนหมื่นหนึ่งมา ซึ่งเนาในกองทัพ กลับม้านำมาเฝ้า จึ่งพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสถามตัวหมื่นพล เยียใดกลจึ่งพ่าย เขาจำหน่ายเหตุสนอง ว่าเผือผองผาดผ้าย ท้ายดอนเผาธัญญา พอนาฬิกาหนึ่งนับ ปะทะทับดัสกร เข้าราญรอมรุมรุก คลุกคลีกันหนักหนา ปวงปัจจามิตรมาก หลากทุกคราทุกครั้ง ตั้งตนต่อบมิคง ตรงตนต่อบมิหยุด เหลือจักยุทธ์จึ่งลาด ครั้นพระบาทยินสาร ธก็บรรหารตระบัด ตรัสปรึกษาหาเลศ แห่งเหตุเพโทบาย ถ้วนทุกนายทุกมุล ทั่วทุกขุนหมู่มาตย์ คาดความคิดทั้งมวล ควรยศใดใครเห็น จักเข่นเข็ญให้มอด จักขอดเข็ญให้ม้วย ด้วยถ่ายเทเล่ห์ไหน วานเขือไขอย่าอำ เขาขานคำท่านถาม สงครามครานี้หนัก เชิญเสด็จพักพลหมั้น แต่งทัพซั้นไปหน่วง ถ่วงศึกไว้จงหนา รามือลงก่อนไสร้ ไว้สักครั้งรั้งรอ พอได้ทีจึ่งยาตร ยกพยุหบาตรออกราญ เห็นควรการชัยชอบ ธก็ตรัสตอบมนตรี ตรองคดีดูแผก ฝ่ายเราแตกย่นยับ จักส่งทัพไปทาน พอพลอยฉานสองซ้ำ ค้ำบอยู่บหยุด ชอบถอยทรุดอย่ารั้ง ให้ศึกพลั้งเสียเชิง โดยละเลิงใจอาจ ยาตรตามติดผิดขบวน ควรเรายกออกโรม โหมหักหาญราญรงค์ คงชำนะเศิกไสร้ ได้ด้วยง่ายด้วยงาม เขายินความยลชอบ นอบประณตแด่ไท้ ธให้หมื่นทิพเสนา กับหมื่นราชามาตย์ เหินหัยราชรีบร้อน ไปเตือนต้อนกองนา เร็วเร่งล่าอย่ารั้ง ทวยพหลทั่วทั้ง ทราบข้อบรรหาร ท่านนา

๑๐๘/๒๗๘ โคลง๒

บนานต่างตนผ้าย ไปบ่รอรั้งท้าย

ถี่เท้าผาดผัง มานา

๑๐๙/๒๗๙

ผันหลังแล่นแผ่ผ้าน บมีผู้อยู่ต้าน

ต่อสู้สักตน หนึ่งนา

ฯลฯ

๑๑๐/๒๘๐ โคลง๓

พวกพลทัพรามัญ เห็นไทยผันหนีหน้า

ไปบ่หยุดยั้งช้า ตื่นต้อนแตกฉาน น่านนา

๑๑๑/๒๘๑

ไป่แจ้งการแห่งเล่ห์ เท่ห์กลไทยใช่น้อย

ต่างเร่งติดเร่งต้อย เร่งเต้าตีนตาม มานา

๑๑๒/๒๘๒

แลหลังหลามเหลือนับ บเป็นทัพเป็นขบวนแท้

ถวิลว่าพ่ายจริงแล้ ไล่ล้ำระส่ำระสาย ยิ่งนา

๑๑๓/๒๘๓

หมายละเลิงใจอาจ ประมาทประมาณหมิ่นหมั้น

เบาเร่งเบาเชิงชั้น ชื่นหน้ามาสรลม สรลอนนา

 

ตอนที่ ๙ ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก

๑๑๔/๒๘๔ โคลง๔ เบื้องบรมจักรพรรดิเกล้า กษัตรา เถลิงพิภพทวารา เกริ่นแกล้ว สถิตเกยรัตนราชา อาสน์โอ่ องค์เอย คอยฤกษ์เบิกยุทธ์แผ้ว แผ่นพื้นหาวหน

๑๑๕/๒๘๕

บัดดลวลาหกซื้อ ชระอับ อยู่แฮ แห่งทิศพายัพยล เยือกฟ้า มลักแลกระลายกระลับ ลิวล่งไปเฮย เผยผ่องภาณุเมศจ้า แจ่มแจ้งแสงฉาน
tr> ๑๑๖/๒๘๖ คัคนานต์นฤราสร้าง ราคิน คือระเบียบรัตนอินทนิล คาดไว้ บริสุทธิ์สร่างมลทิน ถ่องโทษ อยู่นา นักษัตรสวัสดิเดชได้ โชคชี้ศุภผล ฯลฯ

ร่าย ๑๑๗/๒๘๙ เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค ตามเต็มท่งแถวเถื่อน เกลื่อนกล่นแสนยาทัพ ถับปะทะไพรินทร์ ส่วนหัสดินอุภัย เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ตรับตระหนักสำเนียง เสียงฆ้องกลองปืนศึก อึกเอิกก้องกาหลง เร่งคำรนเรียกมัน ชันหูชูหางแล่น แปร้นแปร๋แลคะไขว่ บาทย่างใหญ่ดุ่มด่วน ป่วนกิริยาร่าเริง บำเทิงมันครั่นครึก เข้าสู้ศึกโรมราญ ควาญคัดท้ายบมิอยู่ วู่วางวิ่งฉับฉิว ปลิวประเล่ห์สมพาน ส่ำแสะสารแสนยา ขวาซ้ายแซงหน้าหลัง ทั้งทวยพลตนขุน ถ้วนทุกมุลมวลมาตย์ ยาตรบทันโทท้าว ด้าวศึกสู้สองสาร ราญศึกสู้สองไท้ ไร้พิริยะแห่ห้อม พร้อมแต่กลางควาญคช กำหนดสี่โดยเสร็จ เห็จเข้าใกล้กองหน้า ข้าศึกดูดาษเดียร ธระเมียรหมู่ดัสกร มอญพม่าดาดื่น เดินดุจคลื่นคลาฟอง นองน่านในอรรณเวศ ตรัสทอดพระเนตรเนืองบร โล่โรมรอนทวยสยาม หลามเหลือหลั่งคั่งคับ ซับซ้อนแทรกสับสน ยลบเป็นทัพเป็นกอง ธก็ไสสองสารทรง ตรงเข้าถีบเข้าแทง ด้วยแรงมันแรงกาย หงายงาเสยสารเศิก เพิกพังพ่ายบ่ายตน ปนปะไปไขว่คว้าง ช้างศึกได้กลิ่นมัน หันหัวหกตกกระหม่า บ่ากันเลี่ยงกันหลบ ประทบประทะอลวน สองคชชนชาญเชี่ยว เรี่ยวรณรงค์เริงแรง แทงถืบฉัดตะลุมบอน พม่ามอญตายกลาด ข้าศึกสาดปืนโซรม โรมกุฑัณฑ์ธนู ดูดั่งพรรษาซ้อง ไป่ตกต้องตนสาร ธุมาการเกิดกระลบ อบอลเวงฟากฟ้า ดูบ่รู้จักหน้า หนึ่งสิ้นแสงไถง แลนา

๑๑๘/๒๙๐ โคลง๔

จึ่งไทเทเวศอ้าง สมมุติ มิ่งมหิศวรมกุฎ เกศหล้า เถลิงภพแผ่นอยุธย- ยายิ่ง ยศแฮ แสดงพระเดชฟุ้งฟ้า เฟื่องด้าวดินไหว

๑๑๙/๒๙๑

ภูวไนยผายโอษฐ์อื้น โชยงการ แก่เทพทุกถิ่นสถาน ฉชั้น โสฬสพรหมพิมาน กมลาสน์ แลนา เชิญช่วยชุมโสตซั้น สดับถ้อยตูแถลง

๑๒๐/๒๙๒

ซึ่งแสร้งรังสฤษฏ์ให้ มาอุบัติ ในประยูรเศวตฉัตร สืบเชื้อ หวังผดุงบวรรัตน ตรัสเยศ ยืนนา ทำนุกพระศาสน์เกื้อ ก่อสร้างแสวงผล

๑๒๑/๒๙๓

กลใดไป่ช่วยแผ้ว นภา ดลฤๅ ใสสรว่างธุมา มืดม้วย มลักเล็งเหล่าพาธา ทวยเศิก สมรแฮ เห็นตระหนักเนตรด้วย ดั่งนี้แหนงฉงาย

๑๒๒/๒๙๔

พอถวายวรวากย์อ้าง โอษฐ์พระ ดาลมหาวาตะ ตื่นฟ้า ทรหึงทรหวลพะ- พานพัด หาวแฮ หอบธุมางค์จางเจ้า จรัสด้าวแดนสมร

๑๒๓/๒๙๕

ภูธรเมิลอมิตรไท้ ธำรง สารแฮ ครบสิบหกฉัตรทรง เทริดเกล้า บ่จวนบ่จวบองค์ อุปราช แลฤๅ พลางเร่งขับคชเต้า แต่ตั้งตาแสวง

๑๒๔/๒๙๖

โดนแขวงขวาทิศท้าว ทฤษฎี แลนา บัด ธ เห็นขุนกรี หนึ่งไสร้ เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์ เรียงคั่ง ขูเฮย หนแห่งฉายาไม้ ข่อยชี้เณอนาม

๑๒๕/๒๙๗

ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา ถวิลว่าขุนศึกสำ- นักโน้น ทวยทัพเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง

๑๒๖/๒๙๘

สองสุริยพงศ์ผ่านหล้า ขับคเชนทร์บ่ายหน้า แขกเจ้าจอมตะเลง แลนา

๑๒๗/๒๙๙

ไป่เกรงประภาพเท่าเผ้า พักตร์ท่านผ่องฤๅเศร้า สู้เสี้ยนไป่หนี หน้านา

๑๒๘/๓๐๐

ไพรีเร่งสาดซ้อง โซรมปืนไฟไป่ต้อง ตื่นเต้าแตกฉาน ผ้านนา

ตอนที่ ๑๐ ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย ===

๑๒๙/๓๐๑ โคลง๔ นฤบาลบพิตรเผ้า ภูวนา ยกแฮ ผายสิหนาทกถา ท่านพร้อง ไพเราะราชสุภา- ษิตสื่อ สารนา เสนอบ่มีข้อข้อง ขุ่นแค้นคำไข

๑๓๐/๓๐๒

อ้าไทภูธเรศหล้า แหล่งตะเลง โลกฤๅ เผยพระยศยินเยง ย่านแกล้ว สิบทิศทั่วลือละเวง หวั่นเดช ท่านนา ไป่เริ่มรอฤทธิ์แผ้ว เผือดกล้าแกลนหนี
tr> ๑๓๑/๓๐๓ พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต- ดมเอย ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้ เชิญราชร่วมคชยุทธิ์ เผยยอเกียรติ ไว้แฮ สืบกว่าสองเราไสร้ สุดสิ้นฤๅมี

๑๓๒/๓๐๔

หัสดีรณเรศอ้าง อวสาน นี้นา นับอนาคตกาล ห่อนพ้อง ขัตติยายุทธ์บรรหาร คชคู่ กันแฮ คงแต่เผือพี่น้อง ตราบฟ้าดินกษัย

๑๓๓/๓๐๕’

ไว้เป็นมหรสพซ้อง สุขศานติ์ สำหรับราชสำราญ เริ่มรั้ง บำเทิงหฤทัยบาน ประดิยุทธ์ นั้นนา เสนอเนตรมนุษย์ตั้ง แต่หล้าเลอสรวง

๑๓๔/๓๐๖ ป่วงไท้เทเวศทั้ง พรหมมาน

เชิญประชุมในสถาน ที่นี้ ชมชื่นคชบำราญ ตูต่อ กันแฮ ใครเชี่ยวใครชาญชี้ ชเยศอ้างอวยเฉลิม

๑๓๕/๓๐๗

หวันเริ่มคุณเกียรติก้อง กลางรงค์ ยืนพระยศอยู่คง คู่หล้า สงครามกษัตริย์ทรง ภพแผ่น สองฤๅ สองราชรอนฤทธิ์ร้า เรื่องรู้สรเสริญ

๑๓๖/๓๐๘

ดำเนินพจน์พากย์พร้อง พรรณนา องค์อัครอุปราชา ท่านแจ้ง กอบเกิดขัตติยมา- นะนึก หาญเฮย ขับคชเข้ายุทธ์แย้ง ด่วนด้วยโดยถวิล

๑๓๗/๓๐๙

หัสดินปิ่นธเรศไท้ โททรง คือสมิทธิมาตงค์ หนึ่งอ้าง หนึ่งคือศิริเมขล์มง คลอาสน์ มารเอย เศียรส่ายหงายงาคว้าง ไขว่แคว้งแทงโถม

๑๓๘/๓๑๐

สองโจมสองจู่จ้วง บำรู สองขัตติยสองขอชู เชิดด้ำ กระลึงกระลอกดู ไวว่อง นักนา ควาญขับคชแข่งค้ำ เข่นเขี้ยวในสนาม

๑๓๙/๓๑๑

งามสองสุริยราชล้ำ เลอพิศ นาพ่อ พ่างพัชรินทรไพจิตร ศึกสร้าง ฤๅรามเริ่มรณฤทธิ์ รบราพณ์ แลฤๅ ทุกเทศทุกทิศอ้าง อื่นไท้ไป่เทียม

๑๔๐/๓๑๒

ขุนเสียมสามรรถต้าน ขุนตะเลง ขุนต่อขุนไป่เยง หย่อนห้าว ยอหัตถ์เทิดลบองเลบง อังกุศ ไกวแฮ งามเร่งงามโทท้าว ท่านสู้ศึกสาร

๑๔๑/๓๑๓

คชยานขัตติเยศเบื้อง ออกถวัลย์ โถมปะทะไป่ทัน เหยียบยั้ง สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา เสยส่ายท้ายทันต์ทั้ง คู้ค้ำคางเขิน

๑๔๒/๓๑๔

ดำเนินหนุนถนัดได้ เชิงชิด หน่อนเรนทรทิศ ตกด้าว เสด็จวราฤทธิ์ รำร่อน ขอแฮ ฟอนฟาดแสงของ้าว อยู่เพี้ยงจักรผัน

๑๔๓/๓๑๕

เบื้องนั้นนฤนาถผู้ สยามมินทร์ เบี่ยงพระมาลาผิน ห่อนพ้อง ศัสตราวุธอรินทร์ ฤๅถูก องค์เอย เพราะพระหัตถ์หากป้อง ปัดด้วยขอทรง

๑๔๔/๓๑๖

บัดมงคลพ่าห์ไท้ ทวารัติ แว้งเหวี่ยงเบี่ยงเศียรสะบัด ตกใต้ อุกคลุกพลุกเงยงัด คอคช เศิกแฮ เบนบ่ายหงายแหงนให้ ท่วงท้อทีถอย

๑๔๕/๓๑๗

พลอยพล้ำเพลียกถ้าท่าน ในรณ บัดราชฟาดแสงพล- พ่ายฟ้อน พระเดชพระแสดงดล เผด็จคู่ เข็ญแฮ ถนัดพระอังสางข้อน ขาดด้าวโดยขวา

๑๔๖/๓๑๘

อุรารานร้าวแยก ยลสยบ เยนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น เหนือคอคชซอนซบ สังเวช วายชิวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์

๑๔๗/๓๑๙

บั้นท้ายคชาเรศท้าว ไทยไผท ถึงพิราลัยลาญ ชีพมล้าง เพราะเพื่อพิพิธไพ- รีราช แลนา โซรมสาดตราดปืนขว้าง ตอกต้องตนสลาย

๑๔๘/๓๒๐

ฝ่ายองค์อิศวรนาถน้อง นฤบาล แสดงยศคชยุทธยาน ยาตรเต้า มางจาชโรราญ ฤทธิ์ราช แลฤๅ เร็วเร่งคเชนทรเข้า เข่นค้ำบำรู

๑๔๙/๓๒๑

บัดภูธเรศพ่าห์ได้ เชิงชน ลงล่างง้างโททนต์ เทิดใต้ พัชเนียงเบี่ยงเบนตน เซซวน ไปแฮ หัวปั่นหันข้างให้ เพลี่ยงพลั้งเสียที

๑๕๐/๓๒๒

ภูมีมือง่าง้าว ของอน ฟันฟาดขาดคอบร บั่นเกล้า อินทรีย์ซบกุญชร เมือชีพ แลเฮย เผลพระเกียรติผ่านเผ้า พี่น้องสองไท

๑๕๑/๓๒๓

ทันใดกลางคชเจ้า จุลจักร มลายชิพิตลาญทัก ท่าวซ้ำ เหลือหลามเหล่าปรปักษ์ ปืนป่าย เอาเฮย ตรึงอกพกตกขว้ำ อยู่เบื้องบนสาร

๑๕๒/๓๒๔

พระราญอริราชด้วย เดโช สี่ทาสสนองบาทโท ท่านท้าว พระยศยิ่งภิยโย ผ่านแผ่ ภพนา สองรอดโดยเสด็จด้าว ศึกสู้เสียสอง

ร่าย ๑๕๓/๓๒๕ จึ่งกองพยุหทวยทัพ สรรพหลังหน้าขวาซ้าย ผ้ายทันธิบดินทร์ ขณะอรินทรพินาศ ขาดคอคชสองเสร็จ ต่างรีบระเห็จเข้าโรม โหมหักหาญราญรุก บุกบั่นฟันแทงฆ่า พม่ามอญไทยใหญ่ ไล่ล้างลาวดาษดวน ไล่มล้างยวนดาษดื่น ตื่นกันแตกกันตายหลายเหลือนับเนืองนอง กองก่ายกายรายหัว ตัวขาแขนเด็ดดาษ กลาดกลางท่งกลางเถื่อน เกลื่อนกลางดงกลางดอน แล่นซอกซอนซนซุก บุกทุกภายพ่ายแพ้ เพราะพระเดชท่านแท้ หากให้ขาดเข็ญ แลนา

๑๕๔/๓๒๖ โคลง๒

เห็นประภาพเจ้าช้าง เชี่ยวกว่าเชี่ยวเหลืออ้าง เอิกอื้ออัศจรรย์ ยิ่งนา

๑๕๕/๓๒๗

ขวัญหนีดีฝ่อพ้น พวกอเรนทร์ด่วนด้น ดัดดั้นทางทวน ไปนา ฯลฯ

๑๕๖/๓๓๒ โคลง๔ ราชาชัเยศอื้น โองการ รังสฤษฏ์พระสถูปสถาน ทึ่มล้าง ขุนเข็ญคู่รำบาญ สวมศพ ไว้แฮ หนตระพังตรุสร้าง สืบหล้าแหล่งเฉลิม

ร่าย ๑๕๗/๓๓๓ เสร็จเริ่มรณแล้วไสร้ ธให้เจ้าเมืองมล่วน ถ้วนทั้งคชหมอควาญ จำทูลสารเสียรงค์ องค์อุปราชเอารส ขาดคชลาญชีพ รีบเร็วยาตรอย่าหึง ไปแจ้งอึงกฤษฎาการ แด่มหิบาลผู้เผ้า เจ้าแผ่นภพหงสา แล้วธให้คลาพยุหทัพ กลับคืนครองครอบเหล้า เถลิงอยุธยเย็นเกล้า ทั่วทวยสยาม สิ้นนา

๑๕๘/๓๓๔ โคลง๔

กรุงรามฤทธิ์เฟื่องฟ้า ฟู่ภพ ตระบัดบพิตรปรารภ ชอบพ้น เจ้ารามราฆพ คงคู่ เสด็จนา ตำแหน่งกลางช้างต้น ต่อด้วยดัสกร

๑๕๙/๓๓๕

กุญชรวรพ่าห์ท้าย เถลิงงาน องค์อนุชนฤบาล บั่นเสี้ยน ขุนศรีคชคงชาญ ชเยศ ยิ่งนา สนองบาทยาตรยุทธ์เที้ยน เพื่อนไท้ในรณ

๑๖๐/๓๓๖

สองผจญอริราชด้วย โดยเสด็จ คุณขอบตอบบำเหน็จ ท่านให้ ครบเครื่องอุปโภคเสร็จ ทุกสิ่ง สรรพแฮ เงินและทองทาสใช้ อีกทั้งทวยเชลย

๑๖๑/๓๓๗

แล้วเผยพจนารถชั้น บรรหาร ยกชอบกอบบำนาญ ที่ม้วย นายมหานุภาพควาญ กลางคช หนี่งนา หมื่นภักดีศวรด้วย ศึกสู้เสียตน

๑๖๒/๓๓๘

นบัดดลดำรัสให้ ปูนยศ ทรัพย์สิ่งศรีสำรด ทั่วทั้ง บุตรทารท่านแทนทด ความชอบ เขานา สมที่ภักดีตั้ง ต่อเหง้าเผ่าเฉลิม

ร่าย ๑๖๓/๓๓๙ เพิ่มบำเหน็จเสร็จไซร้ ธให้เชิญพระอัยการศึก ปรึกษาโทษขุนทัพ สรรพทั้งมวลหมู่มาตย์ ว่าอริราชริปู ยกพยูหเหยียบเขต ประเวศชานเวียงชัย พระบาทไทธทั้งสอง ปองพระศาสน์อำรุง ผดุงชุมชีทวิชาติ ทั่วทวยราษฎร์ประชา ไป่ระอาออกท้อ ข้อลำเค็ญพระองค์ ทรงพระอุตสาหภาพ เสด็จปราบราชอรี ปวงมนตรีนายทัพ สรรพทุกตนทุกตัว กลัวอเรนทร์เหลือล้น พ้นยิ่งพระราชอาชญา ไป่ยาตราพลขันธ์ ทันเสด็จด้าวรณรงค์ มละสารทรงสองเต้า เข้าท่ามกลางปัจนึก ถึงสู้ศึกหัสดี มีชเยศเสร็จสรรพ โทษขุนทัพทั้งมวล ควรประการใดไสร้ โดยระบอบแบบไว้ แต่เบื้องโบราณ รีตนา

ฯลฯ

๑๖๔/๓๔๓ โคลง๓

ถวายพิพากษาชั้น ดำรัสโดยเหตุหั้น แห่งเบื้องบันทึก โทษนา

๑๖๕/๓๔๔

คำนึงนึกบาปใกล้ วันบัณรสีไซร้ จวบเข้าควรงด หน่อยนา

๑๖๖/๓๔๕

กำหนดพรุกเพ็ญแท้ พันธนาไว้แล้ ตรุตรึ้งตรากขัง มั่นนา

๑๖๗/๓๔๖ โคลง๓

ตั้งแต่ปาฏิบท ล่วงอุโบสถเสด็จแล้ว เร่งสฤษฏ์โทษอย่าแคล้ว คลาดด้าวดำเนิน บทนา


                                  ถอดความเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย

 

ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี

(ร่าย) กล่าวสดุดีที่ทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติเกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ พร้อม
สรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ
ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี
(โคลงสี่สุภาพ) บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง
ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไป
เสร็จศึกแล้วก็ขึ้นครองราชสมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้าทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า

ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ

ฝ่ายนครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้าอยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พระบิดาใช้ แต่กลับต้องไม่ให้ทำศึกเสียอีก ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก จึงเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมจำนวนห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปในเวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ
ทูลลาไปราชสงคราม ณ กรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วก็ทรงเตือนว่าสงครามนั้นมากด้วยกลอุบาย อย่าคิดอะไรตื้นๆ อย่าทะนงตน แล้วทรงชี้เรื่องที่โบราณสั่งสอนไว้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรบ คือ โอวาท 8 ประการ
1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น)
2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา)
3. รู้จักเอาใจทหารให้หึกเหิมอยู่เสมอ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา)
4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา)
5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน)
6. รู้หลักพิชัยสงคราม การตั้งค่าย (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา)
7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า
(หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล
อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน)
8. อย่าลดความเพียรหรืออย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)
ครั้งทรงรับโอวาทและคำประสาทพรแล้ว ก็กราบบังคมลามาที่เกยประทับบนหลังช้างพระที่นั่งพลายพัทธกอ ยกกองทัพออกจากพระนครผ่านโขลนทวารเสด็จพระราชดำเนินไปโดยทางสถลมารคทันที

พระมหาอุปราชายกทัพมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ (ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างพม่ากับไทยในปัจจุบัน) ก็ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาในเขตสยามทันที และพระองค์ได้ทรงรำพันถึงนางสนมว่า
(24) เสด็จมาลำพังพระองค์เดียวเปล่าเปลี่ยวใจและน่าเศร้านัก เมื่อทรงชมต้นไม้และดอกไม้ที่ทรงพบเห็นระหว่างทางก็ค่อยเบิกบานพระทัยขึ้นมาบ้าง แต่ก็ไม่วายคิดถึงนางสนมกำนัลทั้งหลาย
(25) ทรงเห็นต้นสลัดไดทรงดำริว่าเหตุใดจึงต้องจากน้องมานอนป่า มาเพื่อทำสงครามกับข้าศึก เห็นต้นสละที่ต้องสละน้องมาเหมือนชื่อต้นไม้ เห็นต้นระกำที่ชื่อต้นไม้ช่างเหมือนอกพี่แท้ๆ
(26) ต้นสายหยุดเมื่อสายก็หมดกลิ่น แต่ใจพี่แม้ยามสายก็ไม่คลายรักน้อง กี่วันกี่คืนที่จากน้องพี่มีแต่ความทุกข์คิดถึงน้องทุกค่ำเช้า ไม่รู้ว่าจะหยุดรักน้องได้อย่างไร
(27) กองทัพมอญดูมืดฟ้ามัวดิน ทั้งกองทัพ ม้า ช้าง ถืออาวุธเป็นมันปลาบ เห็นธงปลิวไสวเต็มทองฟ้า

ฝ่ายเจ้าเมืองกาญจนบุรี จัดทหารไปสืบข่าวในเขตมอญ ทหารก็ลัดเลาะไปทางลำน้ำแม่
กษัตริย์ เห็นกองทัพยกมาก็ตกใจ เห็นฉัตรห้าชั้นก็ทราบว่าเป็นพระมหาอุปราชายกทัพมา ก็รีบกลับมาแจ้งข่าวศึกให้เจ้าเมืองกาญจนบุรีทราบ เจ้าเมืองทราบข่าวศึกก็ตกใจมากจนขวัญไม่อยู่กับตัว ปรึกษากันแล้วก็เห็นว่าเมืองเรามีกำลังน้อย ต่อสู้ก็คงสู้ไม่ได้จึงชวนกันหลบหนีเข้าป่าไป
ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชาเร่งยกทัพมาถึงแม่น้ำลำกระเพิน ให้พระยาจิตตองทำสะพานไม้ไผ่ปูเพื่อยกพลเดินข้ามฝาก ชาวสยามเห็นชัดเช่นนั้นจึงมีสารลงชื่อทุกคนรายงานเรื่องข้าศึกยกทัพเข้ามา แล้วให้ขุนแผน (นายด่าน) ขี่ม้าเร็วมาบอกพญามหาดไทย เพื่อกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ
กองทัพมอญยกทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรีเห็นบ้านเมืองว่างเปล่า ไม่มีผู้ใดออกสู้รบ จะจับคนไทยมาสอบถามก็ไม่มีเลยสักคน จึงรู้ว่าคนไทยทราบข่าวและหลบหนีไปหมดแล้ว พระมหาอุปราชาจึงให้ยกทัพเข้าไปในเมือง แล้วยกทัพต่อไปถึงตำบลพนมทวนเกิดลมเวรัมภาพัดหอบเอาฉัตรหัก พระมหาอุปราชาตกพระทัย ทรงให้โหรทำนาย โหรทราบถึงลางร้ายแต่ไม่กล้ากราบทูลตามความจริง กลับทำนายว่า เหตุการณ์เช่นนี้ถ้าเกิดในตอนเช้าไม่ดี ถ้าเกิดในตอนเย็นจะได้ลาภ และจะชนะศึกสยามในครั้งนี้
พระมหาอุปราชาได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พระองค์อดที่จะหวั่นในพระทัยไม่ได้ด้วยเกรงพ่ายแพ้ข้าศึก ด้วยความหมกมุ่นในพระทัยก็ทรงระลึกถึงพระราชบิดาว่าถ้าพระองค์เสียโอรสให้แกข้าศึก จะต้องโทมนัสใหญ่หลวง เพราะเปรียบเหมือนพระองค์ถูกตัดพระพาหาทั้งสองข้างทีเดียว
การรบกับพระนเรศวรใครก็ไม่อาจจะต่อสู้ได้ เสียดายแผ่นดินมอญจะต้องพินาศเพราะไม่มีใครอาจจะต่อสู้ต้านทาน
สงสารสมเด็จพระราชบิดา ที่จะต้องเปล่าเปลี่ยวพระทัย ทั้งพระองค์ก็ทรงชราภาพมากแล้ว เกรงจะพ่ายแพ้เสียทีแก่ชาวสยาม
สงครามครั้งนี้หนักใจนัก เรารู้สึกหนาวเหน็บอยู่ในใจ ลูกตายใครจะเก็บผีไปให้ คงจะถูกทิ้งอยู่ไม่มีใครเผา พระองค์จะอยู่ในพระนครแต่ลำพังพระองค์เดียว ไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์ริเริ่มสงครามเพียงลำพังได้อย่างไร พระองค์คงจะต้องคับแค้นพระทัย
ฝ่ายเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ คือ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณ ก็พากันอพยพผู้คนหนีเข้าป่า แล้วมีสารไปกราบให้พระนเรศวรทรงทราบ

ขณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรประทับออกขุนนางอยู่ในท้องพระโรง ได้มีพระราชดำรัสถามถึงทุกข์สุขของปวงชน ขุนนางก็กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตัดสอนคดีด้วยความยุติธรรม ราษฎรก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
แล้วพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงการที่จะยกทัพไปตีเขมร โดยกำหนดวันที่จะยกทัพออกไป ส่วนทัพเรือจะให้เกณฑ์หัวเมืองปักษ์ใต้เพื่อยกไปตีเมืองพุทไธมาศและเมืองบัก สักแล้ว ให้เข้าล้อมเมืองหลวงของเขมรไว้
พระองค์ทรงพระวิตกว่าพม่าจะยกกองทัพมา จะได้ให้ใครอยู่ป้องกันบ้านเมืองรอพระองค์เสด็จกลับมา ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเป็นผู้ที่เหมาะสมก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาบ้าน เมือง แต่ทรงคาดคะเนว่าทัพพม่าพึ่งจะแตกไปเมื่อต้นปี ปีนี้คงจะยังไม่ยกมา ถ้ามีก็เห็นจะเป็นปีหน้า ขณะที่ทรงปรึกษากันอยู่นั้น ทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาถึง และกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระองค์กลับทรงยินดีที่ได้รับข่าวศึก จึงให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้าเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบ

สมเด็จพระนเรศวรมีพระราชดำรัสว่า เราเตรียมทัพจะไปตีเขมร ศึกมอญกลับมาชิงตัดหน้า ไม่ให้เราไปรบเขมร เราจะได้ยกไปทำสงครามเพื่อเป็นการรื่นเริงครั้งยิ่งใหญ่ และจะต้องเอาชนะให้ได้ก่อน แล้วพระองค์ก็มีรับสั่งให้ประกาศแก่เมืองราชบุรีให้เกณฑ์ทหารจำนวน 500 คน
ไปซุ่มดูข้าศึกขณะกำลังข้ามสะพานที่ลำกระเพินและให้รีบตัดสะพานให้ขาด จุดไฟเผาอย่าให้เหลือ
แล้วให้หลบหนีกลับมาอย่าให้ข้าศึกจับได้
พอรับสั่งเสร็จ ทูตจากเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี ก็มาถึง เขาก็เบิกตัวเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรื่องราวและถวายสารให้ทรงทราบว่า ขณะนี้กองทัพมอญลาดตระเวนเข้ามาถึงเขตเมืองวิเศษไชยชาญแล้ว
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงเกรงกลัวข้าศึกแม้แต่น้อย กลับโสมนัสที่จะได้ปราบข้าศึก ทั้งสองพระองค์ปรึกษาถึงกลศึกที่จะรับมือกับมอญ ขุนนางได้ถวายคำแนะนำให้ออกไปรับข้าศึกที่นอกกรุงศรีอยุธยา ความคิดนี้ตรงกลับพระดำริของพระองค์ แล้วมีรับสั่งให้จัดทัพกำลังพลห้าหมื่น
เกณฑ์จากหัวเมืองตรีและจัตวา 23 หัวเมืองใต้ เป็นทัพหน้า ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ โดยให้กองหน้าออกไปต่อสู้ข้าศึก หากสู้ไม่ได้พระองค์จะออกไปต่อสู้ในภายหลัง ทั้งสองแม่ทัพรับพระบรมราชโองการแล้วก็ยกทัพไปตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย โดยตั้งค่ายเป็นรูปภูมิพยุหไกรสร ทหารทั้งปวงก็ขวัญดีมีความรื่นเริงทั่วหน้า ตั้งรอทัพข้าศึกอยู่

ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรก็มีรับสั่งให้โหรหาฤกษ์ที่จะยกทัพหลวงไป หลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ว่า พระนเรศวรได้จตุรงคโชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป
ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เวลา 8.30 น.
เมื่อได้มงคลฤกษ์ ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพเสด็จทางชลมารคไปประทับแรมที่ตำบลปากโมก เมื่อประทับที่ปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จเข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 4 นาฬิกา พระองค์ทรงพระสุบินเป็นศุภนิมิติ
เรื่องราวราวในพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวรมีว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูง ทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดพระเนตร และพระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น จระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งโถมปะทะและจะกัดพระองค์ จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป พอตื่นบรรทมสมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเทวดาสังหรให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลบ่าท่วมป่าทางทิศตะวันตกหมายถึงกองทัพของมอญ จระเข้คือพระมหาอุปราชา การสงครามครั้งนี้จะเป็นการใหญ่ ขนาดถึงได้กระทำยุตธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วยพระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำนั้น หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไปไม่อาจจะทานพระบรมเดชานุภาพได้
พอใกล้ฤกษ์ยกทัพ สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถเสด็จไปยังเกยทรงช้างพระที่นั่ง คอยพิชัยฤกษ์อยู่ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรืองงาม ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองพระองค์ทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงสรรเสริญและนมัสการ อธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้นบันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึก
แล้วสมเด็จพระนเรศวรเสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เคลื่อนขบวนทัพพยุหยาตราต่อไป

ฝ่ายกองตระเวนของมอญ ซึ่งได้รับคำสั่งให้มาสืบข่าวดูกองทัพไทยซึ่งจะออกมาต่อสู้ต้านทานจะได้นำข่าวมาพระมหาอุปราชา สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน พร้อมด้วยกองม้าจำนวน 500 คน ได้ไปพบกองทัพไทยตั้งค่ายรอรับอยู่ที่หนองสาหร่ายจึงรีบกลับไปทูลแด่องค์พระมหาอุปราชา พระองค์ตรัสถามนายกองทั้งสามว่าประมาณกำลังพลฝ่ายไทยประมาณเท่าใด นายกองกราบทูลว่า ประมาณสิบ – สิบแปด หมื่น ดูเต็มท้องทุ่ง พระมหาอุปราชาตรัสว่ากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ออกมารอรับทัพเป็นกองใหญ่ แต่กำลังน้อยกว่าของเรา ของเรามากกว่าหลายส่วน
เราจะต้องรีบโจมตีหักเอาให้ได้ตั้งแต่แรกจะได้เบาแรง แล้วจะได้ไปล้อมกรุงศรีอยุธยาชิงเอาราชสมบัติเห็นจะได้เมืองโดยสะดวก แล้วรับสั่งให้ขุนพลเตรียมทัพให้เสร็จแต่ 3 นาฬิกา พอ 5 นาฬิกา
ก็ยกไปโดยกะสว่างเอาข้างหน้า พรุ่งนี้เช้าจะได้เข้าโจมตี
เสนาผู้ใหญ่ได้ทำตามรับสั่ง เมื่อถึงเวลาตีห้า พระมหาอุปราชาแต่งองค์แล้วเสด็จประทับช้างพลายพัธกอซึ่งกำลังตกมัน
พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึก จึงจัดทัพพร้อมด้วยกำลังพล 5 หมื่น และจัดทัพแบบตรีเสนา คือแบ่งเป็นทัพใหญ่ 3 ทัพ
แต่ล่ะทัพแยกออกเป็น 3 กอง ดังนี้

กองหน้า เจ้าเมืองธนบุรี (นายกองหน้า ปีกซ้าย)
พระยาสุพรรณบุรี ( นายกองหน้า )
เจ้าเมืองนนทบุรี (นายกองหน้า ปีกขวา)

กองหลวง เจ้าเมืองสรรคบุรี (นายกอง ปีกซ้าย)
พระยาศรีไสยณรงค์ (แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ)
เจ้าเมืองสิงห์บุรี (นายกอง ปีกขวา)

กองหลัง เจ้าเมืองชัยนาท (นายกองหลัง ปีกซ้าย)
พระราชฤทธานนท์ (ปลัดทัพคุมกองหลัง)
พระยาวิเศษชัยชาญ (นายกองหลัง ปีกขวา)

ทัพไทยเคลื่อนออกจากหนองสาหร่ายถึงโคกเผาข้าวเวลาประมาณ 7 นาฬิกา ได้ปะทะกับทัพมอญ ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยอาวุธชนิดเดียวกันเป็นคู่ๆ ด้วยความสามารถ ต่างฝ่ายก็ล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลือก็ต่อสู้กันอย่างไม่เกรงกลัว กองทัพมอญที่ตามมามีมากขึ้น ตีโอบล้อมกองทัพไทย ฝ่ายไทยกำลังน้อยกว่า กระจายออกรับไม่ไหว จึงต้องถอย
ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก็ทรงเตรียมกำลังทหารไว้อย่างพร้อมเพรียงตั้งแต่ยังไม่สว่าง จนแสงเงินแสงทองจับขอบฟ้า

ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีและผู้ชำนาญไสยศาสตร์ ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืนซึ่งไทยกับมอญกำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไปสืบข่าว หมื่นทิพเสนาขึ้นม้าไปอย่างรวดเร็ว ถึงกองทัพไทยที่กำลังล่าถอย รับพลางถอยพลาง มอญตามมาอย่างกระชั้นชิด หมื่นทิพเสนาได้นำขุนหมื่นผู้หนึ่งมาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร ขุนหมื่นผู้นั้นกราบทูลว่า เมื่อเวลา 7 นาฬิกา ทัพไทยได้ปะทะกับทัพมอญที่ตำบลโคกเผาข้าว ทัพไทยต้องถอยร่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกำลังข้าศึกมีมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไขการศึกษาอย่างไร บรรดาแม่ทัพนายกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนจึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู้ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า “ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีก ก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควรที่ล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อลวงข้าศึกให้ละเลิงใจ ยกติดตามมาไม่เป็นขบวนพอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่ออกโจมตี ก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย” แม่ทัพนายกองเห็นชอบด้วยกับพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้หมื่นทิพเสนากับหมื่นราชามาตย์ไปแจ้งทัพหน้าของไทยให้ล่าถอยโดยเร็ว ทัพหน้าไทยจึงรีบถอยร่น ทัพพม่าไม่รู้กลอุบาย ก็รุกไล่ตามจนเสียกระบวน

ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกย เพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่เย็นเยือกลอยอยู่ทางทิศ พายัพ แล้วก็กลับแลดูท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง ดวงอาทิตย์ส่องแสงจ้าโดยไม่มีอะไรบดบัง อันเป็นนิมิตที่แสดงพระบรมเดชานุภาพและชี้ให้เห็นความมีโชคดี สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพลตาม เกล็ดนาค ตามตำราพิชัยสงคราม จนปะทะเข้ากับกองทัพข้าศึก ช้างพระที่นั่งทั้งสอง คือ พระเจ้าไชยานุภาพ และ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้สดับเสียง ฆ้อง กลอง และเสียงปืนของข้าศึก ก็ส่งเสียงร้องด้วยความคึกคะนอง เพราะกำลังตกมัน ควาญบังคับไว้ไม่อยู่ มันวิ่งไปโดยเร็ว จนทหารในกองตามไม่ทัน มีแต่กลางช้างและควาญช้างสี่คนเท่านั้นที่ตามเสด็จไปด้วยจนเข้าไปใกล้กองหน้าของข้าศึก ช้างศึกได้กลิ่น มัน ก็พากันตกใจหนีไปปะทะกับพวกที่ตามมาข้างหลัง ช้างทรงไล่แทงช้างของข้าศึกอย่างเมามัน ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ข้าศึกยิงปืนเข้าใส่ แต่ไม่ถูกช้างทรง การต่อสู้เป็นแบบตะลุมบอนจนฝุ่นตลบมองหน้ากันไม่เห็น เหมือนกับเวลากลางคืน
สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสประกาศแด่เทวดาทั้งหลายบนสวสรรค์ทั้งหกชั้น และพรหมทั้งสิบหกชั้นว่า ที่ให้พระองค์ท่านมาประสูตรเป็นพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติก็ด้วยหวังจะให้ทะนุบำรุงศาสนา และพระรัตนตรัยให้เจริญรุ่งเรือง เหตุใดเล่าเทวดาจึงไม่บันดาลให้ท้องฟ้าสว่างมองเห็นข้าศึกได้ชัดเจน พอดำรัสจบไม่นานก็เกิดพายุใหญ่พัดหอบเอาฝุ่นและควันหายไป ท้องฟ้าสว่างดังเดิม มองเห็นสนามรบได้ชัดเจน พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงช้างประทับยืนอยู่ใต้ต้นไม้ข่อย มีทหารห้อมล้อมและตั้งเครื่องสูงครบครัน
ทั้งสองพระองค์ทรงไสช้างเข้าไปหาด้วยพระพักตร์ที่ผ่องใสไม่เกรงกลัวแม้แต่น้อย ข้าศึกยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็มิได้ต้องพระองค์เลย

สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำรัสอันไพเราะไม่มีสุรเสียงขุ่นแค้นพระทัยเลยแม้แต่น้อยว่า
“ ผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งประเทศมอญ พระเกียรคิยศเลื่องลือไปไกลทั่วทั้งสิบทิศ ข้าศึกได้ยินก็เกรงพระบรมเดชานุภาพ ไม่กล้าสู้รบพากันหนีไป
พระเจ้าผู้พี่ปกครองประเทศอันบริบูรณ์ยิ่ง เป็นการไม่สมควรเลยที่พระเจ้าพี่ประทับอยู่ใต้ร่มไม้ เชิญพระองค์เสด็จมาร่วมทำยุทธหัตถีร่วมกัน เพื่อแสดงเกียรคิไว้ให้เป็นที่ปรากฏ ต่อจากเราทั้งสองจะไม่มีอีกแล้ว
การรบด้วยการชนช้างจะถึงที่สุดเพียงนี้ ต่อไปจะไม่ได้ไม่พบอีก การที่กษัตริย์ทำยุทธหัตถีกัน ก็คงมีแต่เราสองพี่น้อง ตราบชั่วฟ้าดินสลาย
การทำยุทธหัตถีก็เปรียบประดุจการเล่นที่รื่นเริงของกษัตริย์เพื่อให้ชมเล่นเป็นขวัญตาแก่มนุษย์จนถึงเมืองสวรรค์
ขอทูลเชิญเทวดาและพรหมทั้งปวงมาประชุมในสถานที่นี้เพื่อชมการยุทธหัตถี ผู้ใดเชี่ยวชาญกว่า ขอทรงอวยพรให้ผู้นั้นรับชัยชนะ
หวังจะให้พระเกียรติยศในการรบครั้งนี้ดำรงอยู่ชั่วฟ้าดิน ว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้กระทำสงครามกัน ใครรู้เรื่องก็จะได้ยกย่องสรรเสริญกันตลอดไป ”

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ตรัสพรรณาดังนั้น พระมหาอุปราชาได้ทรงสดับก็บังเกิดขัตติยะมานะกล้าหาญขึ้น รีบไสช้างเข้าต่อสู้โดยเร็วด้วยความกล้าหาญ
ช้างทรงของผู้เป็นใหญ่ทั้งสองพระองค์ เปรียบเหมือนช้างเอราวัณและช้างคิรีเมขล์อันเป็นพาหนะของวัสวดีมาร ต่างส่ายเศียรและหงายงาโถมแทงอยู่ขวักไขว่
สองกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่งามเลิศล้ำน่าชมยิ่งหนัก ประหนึ่งพระอินทร์และไพจิตราสูรทำสงครามกัน หรือไม่ก็เหมือนกับพระรามรบกับทศกัณฐ์ กษัตริย์อื่นในทุกประเทศและทุกทิศไม่เสมอเหมือน
กษัตริย์แห่งกรุงสยามก็สามารถต้านพระมหาอุปราชาได้ ทั้งสองไม่ทรงเกรงกลัวกันเลย และไม่ได้ลดความห้าวหาญลงแม้แต่น้อย พระหัตถ์ก็ยกพระแสงของ้าวขึ้นกวัดแกว่งตามแบบฉบับ
ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรโถมเข้าใส่ไม่ทันตั้งหลักยั้งตัว ช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ล่างใช้งาทั้งคู่ค้ำคางเจ้าพระยาไชยานุภาพแหงนสูงขึ้น จึงได้ทีถนัด พระมหาอุปราชาเห็นเป็นโอกาส จึงเงื้อพระแสงของ้าวจ้วงฟันอย่างแรงราวกับจักรหมุน แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงพระมาลาหลบพร้อมกับใช้พระแสงของ้าวปัดเสียทัน อาวุธของพระมหาอุปราชาจึงไม่ถูกพระองค์

ทันใดนั้นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรเบนสะบัดได้ล่าง จึงใช้งางัดคอช้างของพระมหาอุปราชาจนหงาย ช้างของพระมหาอุปราชาเสียท่าต้องถอยหลังพลาดท่าในการรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกพระมหาอุปราชาที่พระอังสาขวาขาดสะพายแล่ง
พระอุระของพระมหาอุปราชาถูกฟันจนเป็นรอยแยก พระวรกายก็เอนซบอยู่บนคอช้างเป็นที่น่าสลดใจ สิ้นพระชนม์แล้วได้ไปสถิตในแดนสวรรค์
ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร คือ นายมหานุภาพก็ถูกปืนข้าศึกเสียชีวิต ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำยุทธหัตถีกับ มางจาชโร (พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา) พระเอกาทศรถได้ใช้พระแสงของ้าวฟันถูกมางจาชโรตายซบอยู่บนหลังพลายพัชเนียรนั่นเอง และกลางช้างของพระเอกาทศรถ คือ หมื่นภักดีศวรก็ถูกปืนข้าศึกตาย
ทั้งสองพระองค์รบกับข้าศึกในครั้งนี้ด้วยพระบรมเดชานุภาพ เพราะมีแค่ทหารสี่คนและพระองค์ทั้งสองเท่านั้น พระเกียรติจึงแผ่ไปไกล ทหารที่ติดตามไปตายสองและรอดกลับมาสอง
กองทัพไทยติดตามมาทันเมื่อพระมหาอุปราชาขาดคอช้างแล้ว ต่างก็รีบเข้ามาช่วยรบ ฆ่าฟันทหาร พม่า มอญ ไทยใหญ่ ลาว เชียงใหม่ ตายลงจำนวนมากเหลือคณานับ ที่เหลือบุกป่าฝ่าดงหนีไป ทั้งนี้เป็นพระบรมเดชานุภาพของพระองค์โดยแท้
 

คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย

1 .ความรอบคอบไม่ประมาท

ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายนี้เราจะเห็น คุณธรรมของพระนเรศวรได้อย่างเด่นชัดและสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมากที่สุดคือ ความรอบคอบ ไม่ประมาท

ดั่งโคลงสี่สุภาพตอนหนึ่งกล่าวว่า

๖๒(๑๖๔) พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน อัสดง

เกรงกระลับก่อรงค์ รั่วหล้า

คือใครจักคุมคง ควรคู่ เข็ญแฮ

อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึง

หลัง จากที่พม่ายกกองทัพเข้ามาพระองค์ก็ทรงสั่งให้พ่ายพลทหารไปทำลายสะพานเพื่อ ว่าเมื่อฝ่ายไทยชนะศึกสงคราม พ่ายพลทหารของฝ่ายพม่าก็จะตกเป็นเชลยของไทยทั้งหมด นั่นแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีทัศนคติที่กว้างไกล ซึ่งมีผลมาจากความรอบคอบไม่ประมาท

2 .การเป็นคนรู้จักการวางแผน

จาก การที่เราได้รับการศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วง ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปลี่ยนแผนการรบเป็นรับศึกพม่าแทนไปตีเขมร พระองค์ได้ทรงจัดการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไม่รอช้า ทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้าและพระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ หน้าตามด้วยแผนการอื่นๆอีกมากมายเพื่อทำการรับมือ และพร้อมที่จะต่อสู้กับข้าศึกศัตรูทางฝ่ายพม่า ยกตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่แสดงให้เราเห็นถึงการรู้จักการวางแผนของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช

๖๓(๑๖๕) พระพึงพิเคราะห์ผู้ ภักดี ท่านนา

คือพระยาจักรี กาจแกล้ว

พระตรัสแด่มนตรี มอบมิ่ง เมืองเฮย

กูไกลกรุงแก้ว เกลือกช้าคลาคืน

เมื่อ เราเห็นถึงคุณธรรมทางด้านการวางแผนแล้วเราก็ควรเอาเยี่ยงอย่างเพื่อใช้ในการ ดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ มีแบบแผน ซึ่งจากคุณธรรมข้อนี้ก็อาจช่วยเปลี่ยนแปลงให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ให้กลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตทางด้านการวางแผนในการดำเนินชีวิตก็เป็น ได้ถ้าเรารู้จักการวางแผนให้กับตัวเราเอง

3. การเป็นคนรู้จกความกตัญญูกตเวที

จาก บทการรำพึงของพระมหาอุปราชาถึงพระราชบิดานั้น แสดงให้เราเห็นอย่างเด่นชัดเลยทีเดียวว่าพระมหาอุปราชาทรงมีความห่วงใย อาทร ถึงพระราชบิดาในระหว่างที่ทรงออกรบ ซึ่งแสดงให้เราเห็นถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อพระราชบิดา โดยพระองค์ได้ทรงถ่ายทออดความนึกคิด และรำพึงกับตัวเอง ดั่งโคลงสี่สุภาพที่กล่าวไว้ว่า

๕๑(๑๕๒) ณรงค์นเรศด้าว ดัสกร

ใครจักอาจออกรอน รบสู้

เสียดายแผ่นดินมอญ มอด ม้วยแฮ

เหตูบ่มีมือผู้ อื่นต้านทานเข็ญ

ซึ่ง เมื่อแปลจะมีความหมายว่า เมื่อยามที่สงครามขึ้นใครเล่าจะออกไปรบแทนท่านพ่อ จากโคลงนี้ไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงความกตัญญูที่มีต่อพระราชบิดาของพระมหา อุปราชาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความกตัญญู ความ

จงรัก ภักดี ต่อชาติบ้านเมืองอีก

4. การเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ

สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถทางด้านการมีความ สติปัญญาและมีไหวพริบเป็นเลิศ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงมีคุณธรรมทางด้านการเป็น คนช่างสังเกตและมีไหวพริบ ด้วยเหตุนี้ทำให้พระองค์ทรงสามารถแก้ไขสถานการณ์อันคับขันในช่วงที่ตกอยู่ใน วงล้อมของพม่าได้ ซึ่งฉากที่แสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงมีคุณธรรมทางด้านนี้คือ

๑๓๐(๒๙๖) โดยแขวงขวาทิศท้าว ทฤษฎี แลนา

บัด ธ เห็นขุนกรี หนึ่งไสร้

เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์ เรียงคั่ง ขูเฮย

หนแห่งฉายาไม้ ข่อยชี้เฌอนาม

๑๓๑(๒๙๗) ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา

ถวิลว่าขุนศึกสำ- นักโน้น

ทวยทับเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ

ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง

สมเด็จ พระนเรศวรทรงใช้วิธีการสังเกตหาฉัตร5ชั้นของพระมหาอุปราชา ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าใครเป็นพระมหาอุปราชาทั้งๆที่มีทหารฝ่ายข้าศึกร่าย ล้อมพระองค์จนรอบ แต่ด้วยความมีไหวพริบพระองค์จึงตรัสท้ารบเสียก่อนเพราะถ้าพระองค์ไม่ทรงตรัส ท้ารบเสียก่อนพระองค์อาจทรงถูกฝ่ายข้าศึกรุมโจมตีก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อเราเห็นคุณธรรมของพระองค์ด้านนี้แล้วก็ควรยึดถือและนำไปปฏิบัติ ตามเพราะสิ่งดีๆเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลดีต่อตนเอง และต่อประเทศชาติได้

5. ความซื่อสัตย์

จาก เนื้อเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าบรรดาขุนกรีและทหารมากมายทั้งฝ่ายพม่าและฝ่าย ไทยมีความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี ต่อประเทศชาติของตนมากเพราะจากการที่ศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเรายังไม่ เห็นเลยว่าบรรดาทหารฝ่ายใดจะทรยศต่อชาติบ้านเมืองของตน ซึ่งก็แสดงให้เราเห็นว่าความซื่อสัตย์ในเราองเล็กๆน้อยๆก็ทำให้เราสามารถ ซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ๆได้ซึ่งจากเรื่องนี้ความซื่อสัตย์เล็กๆน้อยๆของบรรดา ทหารส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเกิดความเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้

เราก็เช่น เดียวกัน….ถ้าเรารู้จักมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองดั่งเช่นบรรดาขุนกรี ทหารก็อาจนำมาซึ่งความเจริญและความมั่นคงในชีวิตก็เป็นได้ซึ่งสิ่งนี้อาจส่ง ผลประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัวและชาติบ้านเมือง

6. การมีวาทศิลป์ในการพูด

จาก เรื่องนี้มีบุคคลถึงสองท่านด้วยกันที่แสดงให้เราเห็นถึงพระปรีชาสามารถทาง ด้านการมีวาทศิลป์ในการพูด ท่านแรกคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า

๑๗๗(๓๐๓) พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต-ดมเอย

ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้

เชิญการร่วมคชยุทธ์ เผยอเกียรติ ไว้แฮ

สืบว่าสองเราไซร้ สุดสิ้นฤามี

เรา จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วาจาที่ไพเราะมีความสุภาพน่าฟังต่อพระมหาอุป ราชาซึ่งเป็นพี่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่ทางฝ่ายพม่า

ท่าน ที่สองคือ สมเด็จพระวันรัต เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระนเรศวร ให้กับบรรดาทหารที่ตามเสด็จพระนเรศวรในการรบไม่ทัน ซึ่งอยู่ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า

๑๗๗(๓๕๗) พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็จมาร

เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง

เสด็จไร้พิริยะราญ อรินาศ ลงนา

เสนอพระยศยินก้อง เกียรติก้องทุกภาย

การ มีวาทศิลป์ในการพูดของสมเด็จพระวันรัตครั้งนี้ทำให้บรรดาขุนกรี ทหารได้รับการพ้นโทษดังนั้นจากคุณธรรมข้อนี้ทำให้เราได้ข้อคิดที่ว่า การพูดดีเป็นศรีแก่ตัวเมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วเราทุกคนก่อนที่จะพูดอะไรต้อง คิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูด
 

ข้อคิดจากเรื่อง

1. ลิลิตตะเลงพ่ายสะท้อนให้เห็นความรักชาติ ความเสียสละ ความกล้าหาญ ของบรรพบุรุษ ซึ่งคนไทยควรภาคภูมิใจ

2. แผ่นดินไทยต้องผ่านการทำศึกสงครามอย่างมากมายกว่าที่จะมารวมกันเป็นปึกแผ่นอย่างปัจจุบันนี้

3. พระราชภารกิจของกษัตริย์ไทยในสมัยก่อน คือการปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขและรบเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย

คุณค่าจากเรื่อง

๑. เป็นวรรณคดีชั้นสูงของชาติซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีของวรรณคดีอื่นๆ

๒. ให้คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์หลายประการ เช่น การเล่นคำ การแทรกบทนิราศคร่ำครวญ การใช้โวหารต่างๆ การพรรณนาฉากที่ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วม และเกิดความรู้สึกคล้อยตาม

๓. ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และลักษณะผู้ฟังที่ดี

๔. ปลุกใจให้คนไทยรักและเทิดทูนแผ่นดินไทยจนพร้อมที่ อบรมข้อนี้ทำให้เราได้ข้อคิดที่ว่า การพูดดีเป็นศรีแก่ตัวเมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วเราทุกคนก่อนที่จะพูดอะไรต้อง คิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูด

 

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Joy
warehouse for sale warehouse for sale warehouse for sale Miami warehouse for sale Miami warehouse for sale Miami warehouse for sale warehouse for sale Miami big homes for sale real estate foreclosure homes for sale house bank owned homes for sale Real Estate Leads houses for sale in Florida historic homes for sale | Commercial Realtors | Warehouse In Miami | Office Space Miami Florida | Warehouse For Sale | Warehouses For Sale | Warehouses For Sale Miami | Commerical Real Estate | Commercial Real Estate Agent | Commercial Real Estate Brokers | Commercial Real Estate Agent | Commerical Real Estate For Sale | Doral Florida Commercial Real Estate | Miami Commercial Real Estate For Sale | Lease Office | Warehouse For Lease | Warehouses For Sale Miami | Commercial Real Estate Companies | Warehouses For Sale | Doral Commercial Real Estate | Offices For Lease | Commercial Realtors | Office Space For Rent | Commercial Real Estate In Miami | Commercial Real Estate Listing | Miami Warehouse Space | Commercial Properties | Hotels For Sale | Warehousing | Office Buildings For Sale | Commercial Real Estate Miami | Warehouse For Lease | Warehouse For Lease | Office Space | Miami Commercial Real Estate Broker | Commercial Real Estate Agents | Commercialrealestate | Commercial Real Estate Miami | Warehouse For Lease | Warehouse For Sale | Miami Dade Commercial Real Estate | Commercial Properties | Office Space For Lease | Commercial Real Estate For Sale | Miami Warehouses | Miami Office Buildings | Miami Commercial Real Estate Broker | Commercial Mls | Hotel Brokers | Commercial Real Estate Miami Florida | Commercal Property For Sale | Commercial Real Estate Broker | Hotel Broker | Office Space For Lease | Commercial Real Estate Miami | Commercial Mortgage | Commercial Real Estate Agents | Commercial Real Estate Brokers | Hotel For Sale | Office Buildings | Office Building For Rent | Miami Commercial Real Estate | Commercial Real Estate Listings | Commercial Warehouse For Sale | Office Space | Commercial Property For Sale | Commercial Property | Commercial Real Estate For Sale | Commercial Real Estate Miami Fl | Commercial Realtors | Office Space For Sale | Office Building Miami | Office Buildings For Sale | Commercial Real Estate Brokers | Commercial Office Space | Motel For Sale | Commercial Realtor | Commerial Real Estate | Commercial Real Estate Miami Fl | Warehouses For Sale In Miami | Commercial Real Estate Mortgage | Commercial Property | Warehousing | Commerical Real Estate Companies | Commercial Real Estate | Commercial Real Estate Mls | Commercial Real Estate Agents | Industrial Property | Commerical Real Estate Listings | Miami Commercial Real Estate | Commercial Property | Motel For Sale | Miami Commercial Realtors | Warehouse For Sale Miami | Commercialrealestate | Office Space Miami | Office Space For Rent Miami | Commercial Real Estate Brokers | Search Commercial Real Estate | Miami Dade Commercial Real Estate | Commercial Mortgage Rates | Commercial Office Buildings For Sale | Warehouses For Sale Miami | Shopping Center For Sale | Warehouse Listings | Buildings For Sale | Commercial Building For Sale | Commercial Real Estate Broker | Office Building For Sale | Miami Warehouse Space | Office Building For Sale | Miami Warehouses For Lease | Commercial Real Estate Miami Florida | Commercial Real Estate Loan | Commercail Real Estate | Commercial Property Brokers | Office Buildings | Warehouses For Sale | Commercial Real Estate For Sale | Commercial Real Estate Miami Fl | Office Space For Rent Miami | Comercial Property | Hotel Motels For Sale | Comercial Real Estate For Sale | Commercial Real Estate Search | Commercial Real Estate Broker | Office Building For Lease | Buy Hotel | Hotel Brokers | Commercial Real Estate Interest Rate | commercial real estate companies | Hotel For Sale | Office Building For Lease | Commercial Real Estate Miami Fl | Commercial Property | Office Building For Sale | Office For Rent | Commercial Real Estate Companies | Miami Commercial Realtors | Commercial Realtor | Warehouse For Sale Miami | Commercial Properties | Commerical Real Estate For Sale | Commercial Mortgage Interest Rates | Warehouse For Sale In Miami Florida | Commercial Real Estate Brokers Miami Fl | Miami Warehouse | Office Building | Commercial Real Estate Mortgage | Office Building Sale | Comercial Property | Commercial Property For Sale | Commercial Realtors | Commercial Real Estate Company | Warehouse Space | Comercial Property For Sale | Commercial Real Estate Miami | Commercial Office Building | Commercial Real Estate Broker Miami | Commercial Mortgage | Offices For Sale
 
Joy [68.202.141.xxx] เมื่อ 16/03/2019 05:42
2
อ้างอิง

Sue
  • Office Building Parks
  •  
    Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 17/04/2019 03:30
    ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    สถานะ : รหัสผ่าน :
    ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
    รหัสความปลอดภัย :